วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตารางออกอากาศมูลนิธิการศึกษาทางไกล

ตารางออกอากาศ
ตารางออกอากาศ การอบรมครูภาษาอังกฤษ สำหรับครูโรงเรียนวังฯ และ พื้นที่ใกล้เคียง(เทปย้อนหลัง)
ตารางอบรมครูภาษาอังกฤษ สำหรับครูโรงเรียนวัง และ พื้นที่ใกล้เคียง(เทปย้อนหลัง) เมื่อวันที่ 10-11 เดือน พฤษภาคม 2555 โดย Mr. Andy ณ โรงเรียนวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 15 2กค.-30กย.55 )ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 15 5มิย.-1กค.55 )
ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV15 5 มิ.ย.2555 - 1 ก.ค.2555 )

ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 14 14พค.-30กย.55 )ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 13 11มิย.-30กย.55 )
ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV13 11 มิ.ย.2555 - 30 ก.ย. 2555 )

ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 13 14พค.-10มิย.55 )
ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV13 14 พ.ค.2555 - 10 มิ.ย.2555 )

ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 7-12 11มิย.-30กค.55 )ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 7-12 16พค.-10มิย.55 )
ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 7-12 16 พ.ค.2555 - 10 มิ.ย.2555 )

ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV1-6 11มิย.-28กย.55 )
ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV1-6 11 มิ.ย. 2555 - 28 ก.ย. 2555 )

ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV1-6 16พค.-10มิย.55 )
ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV1-6 16 พ.ค.2555 - 10 มิ.ย.2555 )

ตารางออกอากาศ ช่อง DLTV15(08.30น.-20.00น./4 มิ.ย.-30 ก.ย. 2555)
ตารางออกอากาศ ช่อง DLTV15 ภาคเรียนที่ 1/2555 (08.30น.-20.00น./4 มิ.ย.-30 ก.ย. 2555)มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ร่วมกับ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

ตารางเรียนออกอากาศสด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 (ป.1-6)
ตารางเรียนออกอากาศสด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 (ป.1-6)เปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 (ออกอากาศวันแรก)และปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 วันที่ 28 กันยายน 2555 (ออกาอากาศวันสุดท้าย)

ตารางเรียนออกอากาศสด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 (ม.1-6)

รมว.ศธ.ได้เน้นถึง ๒๙ นโยบายหลักด้านการศึกษาของ ศธ.


ศึกษาธิการ - ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ

รมว.ศธ.กล่าวถึงการประชุมในครั้งนี้ว่า เป็นการประชุมนโยบายและการปฏิบัติของ ศธ.ซึ่งได้เน้นย้ำถึง ๒๙ นโยบายต่อผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ โดยนโยบายที่สำคัญคือ ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง คือ ดูแลลูกหลานของพี่น้องประชาชนเหมือนลูกหลานของเรา และดูแลครูอาจารย์เหมือนพี่น้องของเรา จึงฝากผู้บริหารถึงแนวทางการทำงานว่า อย่าโกงเงินทอง โกงด้วยอำนาจหน้าที่ หรือพยายามหาเรื่องใส่ร้ายผู้อื่น สำหรับตนจะไม่กลั่นแกล้งรังแกใคร แต่จะดูแลการทำงาน แม้แต่ช่วงการโยกย้าย ซึ่งแม้อาจจะมีการปรับเปลี่ยน แต่ก็จะเป็นไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม และจะไม่ยอมให้เรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นในกระทรวงโดยไม่สมเหตุสมผล ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เป็นกระทรวงศึกษาธิการไทยใสสะอาด

พร้อมนี้ได้ประกาศในที่ประชุม โดยขอให้ผู้บริหาร ศธ.เร่งขับเคลื่อนในเรื่องนี้ โดยนำระบบคุณธรรม จริยธรรม เข้ามาสู่ในวงการศึกษา ซึ่งมีหลายแนวทาง เช่น นำครูอาจารย์ ผู้บริหาร นักเรียนนักศึกษาเข้าวัด หรือปฏิบัติธรรมในระยะเวลา ๓-๕ วัน โดยครูสามารถนำการอบรมธรรมะมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำและประเมินผลงานต่างๆ ได้ ส่วนนักเรียนอาชีวะที่มีปัญหา ก็ควรให้ปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข้นเพื่อกล่อมเกลาจิตใจ ดังนั้นหลักใหญ่ๆ ที่จะดำเนินการคือ ต้องเปลี่ยนวิธีคิดและเน้นความโปร่งใสในการบริหารงานบุคคล รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ

นอกจากนี้ รมว.ศธ.ได้เน้นถึง ๒๙ นโยบายหลักด้านการศึกษาของ ศธ. ว่าขอให้ช่วยกันดำเนินการขับเคลื่อนให้เป็นไปตามนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน (เน้นตัวสีแดง) ดังนี้

๑) ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
ดูแลลูกหลานประชาชนเหมือนลูกหลานของเรา จัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเยาวชนทั้งภาคเมืองและชนบท ปั้นนักศึกษาไทยให้เป็นมืออาชีพ เติบโตเป็นพลเมืองโลกที่ทันสมัย

๒) ปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ : Transparency and Accountability การบริหารงานบุคคลที่โปร่งใส  ร่วมรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษาของลูกหลานไทย

๓) ปรับเลื่อนวิทยฐานะ โยกย้ายครูด้วยความเป็นธรรม  สอบแข่งขัน วัดความสามารถด้วยตนเอง ไร้เส้นสายฝากฝัง

๔) สอบ O-NET ป.๖ ม.๓ ม.๖ ทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา วัดผลแต่ละช่วงชั้นประกันคุณภาพการศึกษา นำผลไปใช้เพื่อศึกษาต่อ เชื่อมโยงการปฏิบัติงานของครูผู้สอน เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ

๕) กระทรวงศึกษาธิการไทยใสสะอาด  สร้างความโปร่งใสในการบริหารกระทรวงศึกษาธิการ  ให้ปราศจากทุจริตคอรัปชัน

๖) ปฏิบัติธรรม นำการศึกษา  แก้ปัญหายาเสพติด ขจัดทุจริตคอรัปชัน

๗) แท๊ปเล็ตพีซี เพื่อการศึกษา  สำหรับนักเรียน ป.๑ และ ม.๑ ทุกคน  เติมภูมิปัญญาด้วยเทคโนโลยี มีความรู้ได้อย่างไร้ขีดจำกัด

๘) เรียน ม.๖ จบ ได้ใน ๘ เดือน  เรียนในเวลา และนอกเวลา เพื่อก้าวทันโลก และทันลูกหลาน

๙) กองทุนตั้งตัวได้  เงินทุนขั้นต้น สำหรับนักศึกษา พร้อมเป็นเจ้าของธุรกิจในอนาคต

๑๐) ๑ อำเภอ ๑ ทุน  ทุนการศึกษาสานฝันให้เด็กเก่งทุกอำเภอ เรียนต่อต่างประเทศ

๑๑) สื่อสารภาษาอังกฤษได้ พร้อมเข้าสู่ประชาคม ASEAN  ๘๐% ของนักเรียนทั้งประเทศ พูดภาษาอังกฤษได้ พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘

๑๒) เรียนดีอย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่อนุบาลจนจบ ม.๖  รัฐบาลจัดสรรงบประมาณสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษา ฟรี ค่าเล่าเรียน ฟรี ค่าเครื่องแบบ ฟรี ค่าอุปกรณ์การเรียน ฟรี ค่าหนังสือเรียน  ฟรี ค่ากิจกรรม

๑๓) สร้างผู้นำอาเซียน ASEAN Leaders Scholarship  เพิ่มทุนการศึกษาแก่นักศึกษาอาเซียน เพื่อเตรียมพร้อมเป็นผู้นำในภูมิภาค

๑๔) ทุนการศึกษาเพื่ออนาคต (กรอ.) Income Contingency Loan   โอกาสเข้าถึงแหล่งทุน เรียนก่อน ผ่อนทีหลัง ส่งคืนเมื่อมีรายได้

๑๕) ครูมืออาชีพ  ฝันอยากเป็นครูได้เป็นครู จบแล้วมีงานทำ มั่นคงในชีวิต ร่วมสร้างลูกหลานไทยให้เฉลียวฉลาด

๑๖) ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix-it Center ศูนย์บริการซ่อมสร้าง ๒๐,๐๐๐ แห่งทั่วประเทศ ฝึกฝนช่างฝีมือ ให้บริการประชาชน

๑๗) การศึกษาดับไฟใต้ จัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้  โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชาชน และผู้นำในพื้นที่

๑๘) ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน OTOP Mini MBA  ฝึกอาชีพ เพิ่มพูนทักษะ คิดเป็น ผลิตเป็น ส่งออกต่างประเทศ เพิ่มรายได้แก่ครอบครัว

๑๙) เป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ  สร้างการศึกษาให้แข็งแกร่ง เพื่อแข่งขันในประชาคม ASEAN

๒๐) อัจฉริยะสร้างได้  ส่งเสริมให้เด็กเก่ง เด็กฉลาด พร้อมเป็นผู้นำประเทศในทุกสาขา

๒๑) สร้างพลังครู    แก้ปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างโอกาส

๒๒) สร้างหลักสูตรคิดเป็น ทำเป็น  ลดหลักสูตรท่องจำ รู้ด้วยความเข้าใจ ใช้ปัญญา จินตนาการอย่างไม่สิ้นสุด

๒๓) Internet ตำบล และหมู่บ้าน ค้นหาความถนัดตนเอง เรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา

๒๔) คูปองสร้างเสริมอัจฉริยะ คูปองแลกหนังสือ ให้โอกาสเยาวชน เลือกหนังสือตามความพอใจ

๒๕) เทียบโอนประสบการณ์สายอาชีพ จบ ปวช.ได้ใน ๘ เดือน

หลักสูตรเทียบโอนเรียนเข้มระยะสั้น เทียบโอนความรู้ทักษะประสบการณ์สายอาชีพ

๒๖) โรงเรียนร่วมพัฒนา รวมพลังครู นักเรียน เพื่อความแข่งแกร่งทางวิชาการ
พร้อมสื่อการสอนสมัยใหม่ ยานพาหนะรับส่ง

๒๗) ศูนย์อบรมอาชีวศึกษา  พัฒนาอาชีพให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชน
เรียนรู้ประสบการณ์ก่อนไปประกอบอาชีพ

๒๘) ตั้งสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเลิศในการเรียนสายอาชีพ ปริญญาตรีสายปฏิบัติการ เติมเต็มความรู้ คู่ความเชี่ยวชาญในอาชีพ

๒๙) โรงเรียนในโรงงาน โรงงานในโรงเรียน เรียนรู้จริงในสถานประกอบการ ระหว่างเรียนมีรายได้ จบแล้วได้งานทำ

รมว.ศธ.ได้กล่าวถึงการร่างกฎระเบียบต่างๆ ของ ศธ.ด้วยว่า ต่อไปควรร่างกฎระเบียบให้น้อยลง เพื่อไม่ให้ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เราร่างขึ้นมา ไปจำกัดให้การทำงานต่างๆ ช้าจนเกินไป โดยย้ำให้ร่างกฎระเบียบโดยมองไปที่ผู้ใช้ระเบียบ ไม่ใช่ร่างขึ้นมาเพื่อ ศธ.

บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน
http://www.moe.go.th/websm/2012/jul/187.html


วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จุดเน้นของ สพฐ. ปี 2555


ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. ได้กล่าวใน "ที่นี่มีคำตอบ จดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 4/2555" ทางเว็บไซต์ http://210.246.189.115/ewtadmin/ewt/demo_0850/ewt_news.php?nid=921 ไว้ว่า

การวางแผน เป็นกระบวนการคิดก่อนทำ ส่วนกลยุทธ์ เป็นวิธีที่ดีที่สุด(Best way) ที่จะทำให้พันธกิจของหน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นการวางแผนเชิงกลยุทธ์ จึงเป็นการหาวิธีการที่เราคิดว่าดีที่สุด ในสภาวะแวดล้อมภายในและภายนอก ที่ประสบอยู่ และเราก็มักจะใช้เทคนิค SWOT วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเพื่อการศึกษา จุดแข็ง(Strength) และจุดอ่อน(Weak) และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อศึกษาโอกาส(Opportunity) และข้อจำกัด อุปสรรค ภัยคุกคาม(Treat) หลายท่านมีปัญหาในการแบ่งสภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก เกณฑ์ที่ใช้แบ่งก็คือ เรื่องใดที่เราสามารถควบคุม(Control) ได้ เรื่องนั้นเป็นสภาพแวดล้อมภายใน ถ้าเรื่องใดเหนือการควบคุมของเรา ก็เป็นสภาพแวดล้อมภายนอก กลยุทธ์ที่ดีต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป อ่านแล้วอมยิ้ม รู้นะว่าคิดอะไรอยู่ คงคิดว่าแหมหลักการดีเชียว แต่กลยุทธ์ สพฐ. เหมือนเดิมมา 3-4 ปีแล้ว 555...อ้าว...ก็สภาพแวดล้อมไม่ค่อยได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าใดนักไง ดังนั้นกลยุทธ์จึงเหมือนเดิม

ปี 2555 นี้ สพฐ.มีจุดเน้น 10 ประการด้วยกัน ดังนี้

1. ผลสัมฤทธิ์ในวิชาหลักเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 3 (Student achievement)
2. เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ (EQ : Emotion Quotient)
3. นักเรียน ป.3 ทุกคนอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น นักเรียนป.6 ทุกคนอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขคล่อง และมีทักษะ การคิดขั้นพื้นฐาน (Literacy & Numeracy)
4. นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความเป็นไทย จิตสาธารณะ อยู่อย่างพอเพียง (Sufficiency & Public Mind)
5. เพิ่มศักภาพนักเรียนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปศาสตร์ (Excel to excellence)
6. สร้างทางเลือกในการเรียนรู้ที่เน้นให้ประชากรวัยเรียนทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ลดอัตราการออกกลางคัน ศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ (Alternative Access)
7. นักเรียน ครู และสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพสอดคล้องอัตลักษณ์ (Southern-Border Provinces)
8. นักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและสังคมพหุวัฒนธรรม (ASEAN Community)
9. สถานศึกษาทุกแห่งมีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง และได้รับการรับรองจากการประเมินคุณภาพภายนอก ตลอดจนการพัฒนาสถานศึกษาในพื้นที่ชนบท โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล (Quality Schools)
10. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (Effective Service Areas)

การนิเทศติดตามงานโครงการ ๕ ส. กรกฎาคม ๒๕๕๕


การนิเทศติดตามงานโครงการ ๕ ส.

๑.     ที่ล้างมือข้างอาคารตันติวงษ์ ปรับปรุงเรื่อง ส.สะอาด และท่อระบายน้ำตัน

๒.     ห้องเก็บของอาคารตันติวงษ์ ขาดทั้ง ๕ ส.

๓.     ระเบียงหน้าอาคารเรียน  ส่วนใหญ่ขาด ส.สะอาด

๔.     ทางเดินข้นลงบันได ควรมีสัญลักษณ์ลูกศรเดินทางขวา

๕.     ส้วมครูเปิดน้ำทิ้งไว้

๖.     ห้องน้ำหลังอาคารตันติวงษ์ ควรเพิ่ม ส.สะอาด และ ป้ายกำหนดผู้ดูแลทำความสะอาด

๗.     ห้องวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ ๒ มีการดูแลครบ ๕ ส.

๘.     สวนหย่อมหน้าอาคารควรได้รับการดูแลต้นไม้และสิ่งประดับตกแต่งให้สดชื่นสวยงาม มีการบูรณาการให้เข้าการการเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย

๙.     บอร์ดบริเวณด้านหน้าอาคารอนุบาล ควรได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ และมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับนักเรียนหรือผู้ปกครอง

๑๐. เครื่องรับโทรทัศน์ในห้องเรียน ควรได้ใช้ประโยชน์ที่คุ่มค่า และควรมีแผนการใช้ บันทึกผลการใช้ทุกครั้ง

๑๑. ป้ายต่าง ๆ ที่ติดบริเวณหน้าห้อง ควรเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน  เช่น รูปนักเรียน กรรมการ ๕ ส. ตารางเรียน สถิตินักเรียน

๑๒. อาคารมัธยมให้เพิ่ม ส.สะอาด บริเวณบันไดขึ้นลง ขอบคานคอนกรีตที่มองเห็น ที่มีฝุ่น เกาะ ควร เพิ่ม ส.สะอาด

๑๓. ป้ายนิเทศที่อาคารอาทรพัฒนา จำนวน ๓ ป้าย ควรได้รับการจัดมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับนักเรียน

๑๔. พบไฟฟ้าและพัดลมในห้องเรียนเปิดทิ้งไว้ ขณะที่ไม่มีใครใช้ห้องอยู่

๑๕. โต๊ะเรียน จำนวน ๓ ชุด อยู่หน้าระเบียง ชั้น ๒ อาคารอาทร  หากเป็นโต๊ะเหลือใช้ในห้องเรียน ควรเรียงเก็บไว้ในห้องเรียนก่อน เพื่อใช้ประโยชน์อื่น ๆ

๑๖. มีเศษขยะที่นักเรียนทิ้งอยู่บนหลังคาอาคารอเนกประสงค์ ติดกับอาคารอาทรพัฒนา ซึ่งแสดงถึงนักเรียนขาด ส. สุขนิสัย อย่างชัดเจน

๑๗. มีหนังสือเรียนจำนวนมากวางอยู่หน้าห้องเรียนมัธยม ชั้น ๔ ซึ่งควรมีการดูแลเก็บในที่ควรเก็บ เพื่อ ส.สะอาด และ สะดวก

จุดเน้นการติดตามผลการปฏิบัติงานโรงเรียนวัดมโนรม ปีการศึกษา ๒๕๕๕

จุดเน้น

๑.      ด้านการเรียนการสอน มีเอกสารที่แสดงให้เห็นว่า ครูได้จัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ เอกสารที่แสดง ได้แก่ หลักสูตรที่ใช้ กำหนดการสอน รายปี รายภาค แผนการจัดการเรียนรู้  ผลงานของนักเรียน สมุดแบบฝึกหัด รายงาน โครงงาน งานวิจัยในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน เน้นการผลิตและใช้สื่อการสอน นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยสู่ห้องเรียน ครูเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้พัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสู่ห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

๒.      งานในโครงการ ๕ ส. ห้องเรียนสะอาด มีระเบียบ โต๊ะเก้าอี้นักเรียนอยู่สภาพเรียบร้อย ไม่มีรอยขีดเขียนที่โต๊ะเก้าอี้ มีการแต่งตั้งกรรมการระดับห้องเรียน  มีเอกสารที่แสดงการตรวจประเมินอย่างสม่ำเสมอ และมีบันทึกจากครูที่ปรึกษา อย่างต่อเนื่อง มีป้ายกำกับการเก็บอุปกรณ์ในตู้โต๊ะที่ใช้งานร่วมกัน

๓.      การส่งเสริมโครงการโรงเรียนพอเพียง ตามหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการนำหลักการและสร้างกิจกรรม โครงการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับระดับชั้นเรียน มีแผนการสอนชัดเจน และสร้างผลงานเชิงประจักษ์ 

๔.      โครงการจัดการศึกษาสู่อาเซียน เน้นการจัดหน่วยการสอนสู่ชั้นเรียน ที่มีหลักฐานการดำเนินงานชัดเจน เช่นหลักสูตร  แผนการจัดการเรียนรู้  ผลงานนักเรียน แหล่งการเรียนรู้ ศูนย์การเรียน

๕.      เน้นการทำงานด้วยการมีส่วนร่วม ทำงานเป็นทีม ระดมสมอง ความคิดสร้างสรรค์ สร้างเครือข่ายในสายงานที่เกี่ยวข้องโดยเนื้องาน และกรอบของสายงานที่เชื่อมโยงต่อเนื่องซึ่งกันและกัน  ใช้ภาวะผู้นำและผู้ตาม ให้เกิดพลังสูงสุดการทำงานร่วมกัน ในรูปคณะกรรมการ

๖.      ส่งเสริมการวิจัยในโรงเรียน เพื่อพัฒนางานต่าง ๆ ของโรงเรียน เพื่อทราบระดับปัญญา และวางแผนพัฒนาบนหลักวิชาการที่เหมาะสม

๗.      ส่งเสริมขวัญและกำลังใจของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ในเรื่องการพัฒนาตนเอง การศึกษาอบรม การขอมี หรือเลื่อนวิทยฐานะ และจัดให้มีสวัสดิการอย่างเหมาะสม