วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

นโยบายการศึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจาตุรนต์ ฉายแสง)

สรุปนโยบายการศึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(นายจาตุรนต์ ฉายแสง)
วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ (โดยประเมิน บุญเสนา สพป.ชย.1)
๑. เร่งปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องโดยปฏิรูปให้มีความเชื่อมโยงกันทั้งหลักสูตรและการเรียนการสอน ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับการเรียนรู้ยุคใหม่ การพัฒนาครู และการพัฒนาระบบการทดสอบ การวัดและประเมินผลที่ได้มาตรฐานและเชื่อมโยงกับหลักสูตรและการเรียนการสอน และการพัฒนาผู้เรียน
๒. ปฏิรูประบบผลิตและพัฒนาครู ให้มีจำนวนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการ มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรปัจจุบัน รองรับหลักสูตรใหม่ และการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ รวมทั้งพัฒนาระบบประเมินวิทยฐานะครูให้เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ดูแลระบบสวัสดิการและลดปัญหาที่บั่นทอนขวัญ กำลังใจของครู ให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอนและคุณภาพผู้เรียน
๓. เร่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้ สร้างมาตรฐานการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต)และพัฒนาเนื้อหาสาระ พัฒนาครู และการวัด ประเมินผลที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งเพื่อเป็นเครื่องมือให้เกิดระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตในสังคมไทย
๔. พัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบได้กับระดับสากล ให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยผลักดันให้เกิดการใช้กรอบคุณวุฒิวิชาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อมาใช้กำหนดทักษะ ความรู้
ความสามารถที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ ทำให้มีงานทำ มีความก้าวหน้าและได้รับค่าตอบแทนตามสมรรถนะที่เพิ่มขึ้น โดยไม่ขึ้นกับวุฒิการศึกษาเท่านั้น
๕. ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเร่งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานมากกว่าการขยายเชิงปริมาณ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีโดยให้มีการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของไทย เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน และจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก(World Class University)ให้มากขึ้น
๖. ส่งเสริมให้เอกชนและทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมจัดและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น สนับสนุนระบบความร่วมมือแบบเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษารัฐและเอกชน (Public Private Partnerships) ตลอดจนเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการออกแบบหลักสูตร เป็นวิทยากร สนับสนุนการฝึกงาน และเรียนรู้
๗. เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
๘. พัฒนาการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาและสถานศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ สังคม อัตลักษณ์ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นให้มากขึ้นโดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัย การสร้างขวัญ กำลังใจให้กับนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น