วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คนก็สำราญ งานก็สำเร็จ

เรียน เพื่อนครูที่เคารพรักทุกท่าน ใกล้สิ้นปีการศึกษาแล้ว ปีการศึกษาที่ผ่านมาโรงเรียนวัดมโนรม มีการโยกย้ายสับเปลี่ยน และได้น้องใหม่มาบรรจุในตำแหน่งครูผู้ช่วยอีกหลายคนระหว่างปีนี้  การจัดให้แต่ละท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ ในระหว่างปีที่มีการเปลี่ยนแปลง จึงจำเป็นที่ต้องทำให้งานเดิมสามารถทำต่อได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่สมบูรณ์นัก แต่วันนี้ใกล้สิ้นปีการศึกษาแล้ว จึงไม่มีช่วงใดที่จะเหมาะสมกับที่จะวางแผนอัตรากำลัง ให้ได้ปฏิบัติหน้าที่ในสายงานการสอน และกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ได้ดีเท่ากับเวลานี้  จึงได้ขอสำรวจความต้องการของแต่ละท่านว่า ในปีการศึกษาหน้า เราจะยืนอยู่ ณ จุดใดดี ในโรงเรียนนี้ เพื่อทุกคนจะได้ทำงานที่สอดคล้อง กับความสามารถ ความสนใจ ความถนัด และบริบทสถานะของแต่ละคน จึงขอให้ทุกท่านได้ กรอกรายละเอียดต่าง ๆ  ในแบบสอบถามที่ให้อย่างตรงไปตรงมา เพื่อผมเองจะได้นำมาเป็นข้อมูลไปใช้ประกอบการพิจารณามอบหมายงานต่าง ๆ  ให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละท่านให้มากที่สุด บนพื้นฐานและแนวคิด ที่ว่า คนก็สำราญ งานก็สำเร็จ ซึ่งรายละเอียดในแบบสอบถามมีดังนี้ครับ

แบบสำรวจความต้องการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เพื่อมอบหมายงาน ในปีการศึกษา ๒๕๕๕
..........................................................................................
๑.     ชื่อ...............................................................................
๒.     วุฒิวิชาการศึกษา..........................................................วิชาเอก................................................................
๓.     วิชาเอก(ป.ตรี)..........................................................วิชาโท(ป.ตรี)...............................................................
๔.     ระดับช่วงชั้น ที่สอน ในปีการศึกษา ๒๕๕๔..................................สาระที่สอน..............................................
........................................................................   จำนวนชั่วโมงสอน/สัปดาห์........................ชั่วโมง
๕.     ระดับช่วงชั้นที่ต้องการสอน ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ .............................  สาระที่ต้องการสอน  .............
.................................................................................................................................................
๖.     สาระที่มีความถนัดมากที่สุดในการสอน ๓ อันดับ (จากมากไปน้อย)
.................................................................................................................................................................
๗.     สาระที่มีความถนัดน้อยที่สุดในการสอน
..........................................................................................................................................ง
๘.     หน้าที่อื่น ๆ หรือโครงการที่รับผิดชอบในปีการศึกษา ๒๕๕๔
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
๙.     หน้าที่อื่น ๆ หรือ โครงการพิเศษ  ที่ท่านต้องการทำ หรือ สามารถทำได้โปรดระบุ อย่างน้อย ๓ อันดับ
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
๑๐. โปรดเสนอบุคคลที่ท่านคิดว่าเหมาะสมกับงานต่อไปนี้
๑๐.๑ หน.ช่วงชั้นระดับปฐมวัย.....................................................
๑๐.๒ หน.ช่วงชั้นระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ ...........................................................
๑๐.๓ หน.ช่วงชั้นระดับประถมศึกษาปีที่ ๔-๖ ...........................................................
๑๐.๔ หน.ช่วงชั้นระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ...........................................................
๑๐.๕ ครูวิชาการโรงเรียน..............................................
๑๐.๖ ครูวิชาการ ระดับปฐมวัย....................................................
๑๐.๗ ครูวิชาการ ระดับป.๑-๓....................................................
๑๐.๘ ครูวิชาการ ระดับป.๔-๖........................................................
๑๐.๙ ครูวิชาการ ระดับมัธยม ....................................................
 ส่ง ผอ.โรงเรียนภายในวันที่ ๒๓ ก.พ. ๒๕๕๕       

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ลิงกับลา ... นิทานสอนผู้บริหาร..

ลิงกับลา ... นิทานสอนผู้บริหาร..

ลิงกับลา
หญิงชาวบ้านคนหนึ่งอาศัยอยู่คนเดียวในกระท่อม ด้วยความเหงานางจึงหาสัตว์มาเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนสองตัว คือ ลิงและลา
วันหนึ่งหญิงชาวบ้านคนนี้ต้องออกไปตลาดเพื่อซื้ออาหาร ก่อนออกจากบ้านเธอได้เอาเชือกมาผูกคอลิง แล้วมัดขาของลาเอาไว้ทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงทั้งสองตัวเดินย่ำไปมาในกระท่อมจนทำให้ข้าวของต่างๆ ได้รับความเสียหาย ทันทีที่หญิงชาวบ้านออกจากบ้านไป
ลิงซึ่งมีความฉลาดและแสนซนเป็นคุณลักษณะประจำตัวก็ค่อย ๆ คลายปมเชือกออกจากคอของมัน อีกทั้งยังซุกซนไปแก้เชือกมัดขาให้แก่ลาอีกด้วย
หลังจากนั้นเจ้าลิงก็กระโดดโลดเต้น ห้อยโหนโจนทะยานไปทั่วกระท่อมจนทำให้ข้าวของต่างๆ ล้มระเนระนาดกระจัดกระจายไปทั่ว อีกทั้งยังซุกซนรื้อค้นเสื้อผ้าของหญิงชาวบ้านมาฉีกกัดจนไม่เหลือชิ้นดี
ในขณะที่ลา ได้แต่มองดูการกระทำของเจ้าลิงอยู่เฉย ๆ
สักครู่หนึ่ง หญิงชาวบ้านคนนี้ก็กลับมาจากตลาด เจ้าลิงมองเห็นเจ้าของเดินมาแต่ไกลจากทางหน้าต่าง ก็รีบเอาเชือกมาผูกคอตนไว้ อย่างเดิมและอยู่อย่างสงบนิ่ง
ฝ่ายหญิงชาวบ้านเมื่อเปิดประตูกระท่อมเข้ามาเห็นข้าวของของตนถูกรื้อค้น กระจุยกระจายเช่นนั้นก็เกิดโทสะขึ้นทันที หันมองลิงและลา เพื่อดูว่าใครเป็นผู้ก่อเรื่อง และเห็นว่าลาไม่มีเชือกผูกขาดังเดิม เธอก็คิดเอาเองว่าเจ้าลานี่เองคือตัวปัญหา ทำให้กระท่อมของเธอมีสภาพไม่ต่างจากโรงเก็บขยะ
ดังนั้นหญิงชาวบ้านจึงวิ่งไปหยิบท่อนไม้นอกบ้านมาทุบตีลาอย่างรุนแรง ซึ่งเจ้าลาผู้น่าสงสารก็ได้ แต่ส่งเสียงร้องด้วยความเจ็บปวดจนสิ้นใจโดยไม่สามารถทำอะไรได้เลย
เธอทั้งหลาย...
เธอหลายคนคงไม่ค่อยชอบตอนจบของนิทานเรื่องนี้นัก เพราะสงสารเจ้าลาที่ไม่ได้ทำความผิดอะไรแต่กลับถูกเจ้าของทำโทษจนตาย ส่วนเจ้าลิงซึ่งเป็นต้นเหตุแท้ๆ กลับรอดพ้น และไม่ได้รับผลกรรมใดๆ
แต่แท้ที่จริงแล้วนิทานเรื่องนี้ต้องการชี้ให้เห็นถึง ความเป็นผู้นำของหญิงชาวบ้าน ที่ไม่พิจารณาเหตุการณ์ให้ถ่องแท้ เชื่อแค่สิ่งที่ตนเห็นแล้วลงโทษไปตามความรู้สึกและประสบการณ์ส่วนตัว
เธอมองเห็นข้าวของเสียหาย และมองเห็นลาที่หลุดออกมาจากเชือก แล้วตัดสินว่าลาคงเป็นผู้กระทำ แต่ไม่ได้มองว่าลาไม่มีปัญญาจะแก้เชือก และไม่มีนิสัยชอบรื้อทำลาย
เธอมองเห็นลิงยังถูกเชือกล่ามอยู่ก็คิดว่าลิงคงไม่ใช่ผู้กระทำ แต่มองไม่ออกว่าผู้น่าจะแก้ปมเชือกได้และมีนิสัยชอบรื้อทำลายนั้นคือลิง
ความจริงถ้าเธอรู้จักสำรวจร่องรอยความเสียหายเสียสักเล็กน้อย เธอก็จะพบรอยเท้าและฟันของลิงกระจายไปทั่วห้อง แต่ไม่พบรอยเท้าของลาเลย เพราะลาไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหน
เหตุที่องค์กรของเราต้องเหน็ดเหนื่อยทรมานกันอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะความสะเพร่าของผู้นำที่ "ปล่อยให้ลิงสร้างปัญหา แต่ลารับเคราะห์"
ลาก็เหมือนกับคนที่ปฏิบัติงานได้ตามหน้าที่ แต่ไม่ค่อยมีปากมีเสียง พูดจาตรงไปตรงมาแต่ไร้เล่ห์เหลี่ยม
ลิงก็เหมือนกับคนที่ฉลาดแกมโกง พูดมาก พรีเซ็นต์เก่ง อ้างอิงตำราได้สารพัด แต่ไม่เคยทำงานจริง
นายที่ดีไม่ควรปล่อยให้ลิงหลงระเริงว่าทำผิดเท่าไหร่นายก็ไม่มีทางรู้
ผู้เป็นนายไม่ควรยึดติดความสบาย นั่งขึ้นอืดรอฟังแต่รายงานในห้องประชุม
ผู้เป็นนาย ควรรู้จักยอมเสียสละตน สละเวลาอีกเล็กน้อยเพื่อค้นหาความจริง เพื่อควบคุมเจ้าลิง เพราะไม่เช่นนั้น องค์กรก็จะทุกข์ทรมานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าลิงสงบได้องค์กรก็จะพลอยสบายและมีความสุขอย่างยั่งยืนไปด้วย

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เรื่องแบบนี้ไม่มีที่โรงเรียนวัดมโนรม

เรื่องแบบนี้........ไม่มีที่โรงเรียนวัดมโนรม....แต่มีในประเทศไทย...... แน่นอน
          เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีหนังสือแจ้งไปยังเขตพื้นที่การศึกษา ว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนผ่านทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ว่ามีผู้พบเห็นการมาทำงานสายของครูอาจารย์ คือ มาทำงานหลัง ๐๙.๐๐ น. ทุกวัน จะมาเช้า (ก่อนเข้าแถวเคารพธงชาตินิดเดียว) เฉพาะครูที่เป็นแถวประจำวัน ส่วนที่เหลือมาสายประจำ เมื่อมาถึงโรงเรียนก็ลงเวลามาทำงาน ๐๗.๓๐ น. (ทั้งๆ ที่มาทำงานหลัง ๐๙.๐๐ น.) เมื่อลงเวลาเสร็จก็ไปนั่งทานข้าว (ซึ่งเป็นเวลาทำการสอน) บางครั้งยังเห็นเดินตลาดนัด (ทั้งๆ ที่เป็นเวลาทำการสอน)
          ดังนั้น จึงให้ผู้อำนวยการโรงเรียนกำชับให้ข้าราชการครูในโรงเรียน ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการร้องเรียนและเป็นการรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของข้าราชการในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          ซึ่งสาระสำคัญของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ นั้น กำหนดไว้ว่า ให้สถานศึกษาเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา ถึง ๑๖.๓๐ นาฬิกา หยุดกลางวันเวลา ๑๒.๐๐ นาฬิกา ถึง ๑๓.๐๐ นาฬิกา เป็นเวลาทำงานปกติ โดยมีวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ คือ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ หยุดราชการเต็มวันทั้งสองวัน

ข้อมูลจาก ว็บครูไทย....

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การสอบ NT ปีการศึกษา 2554

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบให้สำนักทดสอบทางการศึกษา
ร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินโครงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพ
ผู้เรียน ปีการศึกษา 2554 และมีนโยบายการประเมิน ดังนี้
1.    ประเมินนักเรียนทุกคน ทุกโรงเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัด สพฐ. ในกลุ่มสาระ
ภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และสอบภาคปฏิบัติความสามารถทางการอ่าน การเขียน
การคิดคำนวณ

2.    ประเมินนักเรียนทุกคน ทุกโรงเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัด สพฐ. ในกลุ่มสาระ
ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ในปีการศึกษา 2554 นี้ งดการประเมินชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด
ประกอบกับ สพฐ. มีนโยบายให้ประเมินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อเตรียมความพร้อมในการทดสอบระดับชาติ            ในปีการศึกษานี้

 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต ๓  กำหนดประชุมรับฟังคำชี้แจง               การดำเนินการจัดสอบ ดังนี้
-       วันที่  20  กุมภาพันธ์  2555  ประชุมรับฟังคำชี้แจงโรงเรียนภาครัฐ ที่ตั้งอยู่ในเขต
อำเภอศรีราชา  ที่ โรงเรียนวัดมโนรม  เวลา  09.00 น. 
-       วันที่  21  กุมภาพันธ์  2555 ประชุมรับฟังคำชี้แจงโรงเรียนภาครัฐ ที่ตั้งอยู่ในเขต
อำเภอบางละมุง ที่ โรงเรียนอนุบาลบางละมุง เวลา 09.00 น. 
-       วันที่  22  กุมภาพันธ์  2555  ประชุมรับฟังคำชี้แจงโรงเรียนภาครัฐ ที่ตั้งอยู่ในเขต
อำเภอสัตหีบ ที่ โรงเรียนอนุบาลบ้านเตาถ่าน  เวลา  09.00 น.
ผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละโรงเรียน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน, กรรมการกลางระดับ
ประถมศึกษา 1 คน, ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 1 คน /ถ้ามี 

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วาระการประชุมครู โรงเรียนวัดมโนรม

วาระการประชุมข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา

ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕  วันที่ ๗  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๕

ณ ห้องประชุมน้อมศิลป์ โรงเรียนวัดมโนรม  อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ

          ๑.๑ นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

                   รมว.ศธ.ได้กล่าวถึงจุดเน้นนโยบายการพัฒนาการศึกษาอย่างเท่าเทียมและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษา ดังนี้

·         จัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเยาวชนทุกคน ซึ่งเยาวชนหมายถึง เด็กตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จะต้องได้รับโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกันทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นในเมืองหรือชนบท จัดโดยรัฐหรือเอกชน การศึกษาในระดับโรงเรียนควรจะมีความรู้ในหลายๆ ด้าน เพื่อให้เด็กมีกรอบคิด มีวิธีคิดที่กว้างขวาง จินตนาการ พร้อมที่จะเผชิญกับโลกสมัยใหม่ และเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๐๑๕ โดยเมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จะต้องเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ ซึ่งรัฐบาลจะประกันรายได้ ๓๐๐ บาทต่อคนต่อวัน

·         ปั้นนักศึกษาไทยให้เป็นมืออาชีพ ซึ่งนักศึกษาหมายถึง ผู้ที่เรียนในระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา หรือสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ขึ้นไป เมื่อเรียนจบนักศึกษาจะต้องมีความเป็นมืออาชีพ เติบโตเป็นพลเมืองโลกที่ทันสมัย มีทักษะหลากหลาย มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และอยู่ร่วมกันเป็นสังคมฐานความรู้ ซึ่งรัฐบาลจะประกันรายได้ผู้จบปริญญาตรี ๑๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน

·         เน้นขยายโอกาสทางการศึกษา ๔ ด้าน ดังนี้

๑) โอกาสเข้าถึงทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม เนื่องจากความเป็นเลิศมักจะกระจุกตัวอยู่ในเมือง แต่นักเรียนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในชนบท มีฐานะยากจน จึงได้จัดทำโครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริม ได้แก่

- โครงการ One Tablet per Child โดยจะจัดหาคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับรัฐบาลจีนในเรื่อง G2G เพื่อนำหลักสูตรมาใส่ในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสัญญาณ Wi-Fi ได้ โดยจะหารือกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเรื่องการปล่อยสัญญาณ Wi-Fi และการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีความเหมาะสมกับนักเรียนในวัยนี้ รวมทั้งจะต้องรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนผู้ใช้ด้วย เพื่อเป็นการเปิดโอกาส ก่อให้เกิดเสรีภาพทางความคิด และมีมุมมองที่กว้างขึ้น

- ห้องการเรียนรู้ โดยมีครูมาเปิดสอนพิเศษแก่นักเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งรัฐเป็นผู้สนับสนุนค่าจ้าง มีการติดตั้งซอฟต์แวร์การศึกษา ไม่ว่าจะเป็น e-Book e-Learning เพื่อสร้าง Knowledge Base Society

- โครงการ e-Education เพื่อพัฒนาโปรแกรมและเนื้อหา ที่จะพลิกโฉมโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการศึกษาที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้ระบบการศึกษาที่ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง

- โครงการโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในฝันสู่อุดมศึกษาชั้นยอด ให้มีคณะกรรมการโรงเรียน (School Board) ที่สามารถจัดจ้างครูใหญ่และครูที่มีความสามารถเป็นเลิศ จัดบริการขั้นพื้นฐาน มีรถรับ-ส่งนักเรียน จัดให้มีหอพักสำหรับนักเรียนที่บ้านอยู่ไกล

- โครงการพลังครู พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา แก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ด้วยการอบรมคุณธรรม ทำบัญชีครัวเรือน ปรับโครงสร้างหนี้ นำหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ในระบบ และเพิ่มรายได้พิเศษให้เพียงพอ และขยายโอกาสใหม่ๆ

- โครงการศูนย์การศึกษานานาชาติ

- โครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งพยาบาล เพื่อดูแลเด็กๆ ที่ป่วย และสามารถสอนหนังสือได้ด้วย

- โรงเรียนตัวอย่างในทุกอำเภอ เพื่อพัฒนาศักยภาพของโรงเรียนให้เป็นเลิศ โดยใช้การติดต่อสื่อสารด้วยวิทยาการที่ทันสมัย

๒) โอกาสเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อที่นักเรียนและผู้ปกครองจะได้คลายความกังวลในเรื่องทุนการศึกษา ซึ่งรัฐบาลเตรียมจัดทำโครงการต่างๆ ดังนี้

- Smart Card เพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน

- โครงการเรียนก่อนผ่อนทีหลัง ส่งคืนเมื่อมีรายได้

- ทุนการศึกษาสานฝันนักเรียนไทยไปเรียนต่างประเทศ (๑ อำเภอ ๑ ทุน) โดยจะต้องปรับเกณฑ์เพื่อให้เกิดการกระจายทุนมากขึ้น

- กองทุนตั้งตัวได้ โดยจะตั้งกองทุนในมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน มีคณะกรรมการคอยกำกับควบคุม ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ ศิษย์เก่า ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ตัวแทนภาครัฐและเอกชน เพราะในมหาวิทยาลัยและสถาบันอาชีวศึกษามีนักศึกษาที่มีองค์ความรู้ มีนวัตกรรมที่ทันสมัยมากมาย การเป็นนักธุรกิจที่มีฐานความรู้จึงมีความได้เปรียบกว่า สามารถสร้างผู้ประกอบการได้มากกว่า

) โอกาสในการเพิ่มพูนและฝึกฝนทักษะ นักเรียนทุกคนสามารถเติบโตได้ในโลกที่เป็นจริง การเรียนรู้บนการทำกิจกรรม (Activity-Based Learning) ซึ่งรัฐบาลเตรียมจัดทำโครงการต่างๆ ดังนี้

- จะส่งเสริมอาชีวศึกษาให้มีความสำคัญมากขึ้น มีความรู้ทางปฏิบัติอย่างแท้จริง และเป็นมืออาชีพ

- ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) มีเป้าหมายให้มีจำนวนเพียงพอต่อการบริการทุกชุมชน เพราะเป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์จากทักษะของนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา และสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชนในชุมชนได้อีกด้วย

- โครงการอัจฉริยะสร้างได้ เพื่อให้นักเรียนได้ค้นหาความถนัดของตนเองในทุกๆ สาขา

- โครงการ ๑ ดนตรี ๑ กีฬา ๒ ภาษา สนับสนุนให้เยาวชนได้มีความสามารถในการแข่งขันความเป็นเลิศ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษและจีนต้องอยู่ในบรรยากาศของเจ้าของภาษาให้มากที่สุด ส่วนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จะต้องสร้างพื้นฐานให้แข็งแกร่ง

- ปรับปรุงหลักสูตร ยกเลิกการท่องจำ และใช้หลักการเรียนรู้แทน โดยใช้เนื้อหาวิชาที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกัน เช่น Video Link รวมถึงการวัดผลที่มีมาตรฐานและทันสมัย

- คนไทยที่มีอายุ ๒๕ ปีขึ้นไป สามารถเทียบประสบการณ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้ โดยการเรียนในเวลา หรือนอกเวลา เพื่อให้มีกรอบความคิดที่ก้าวหน้า ทันต่อโลก และทันต่อลูกหลาน

- สถาบันการศึกษาราชภัฏและอาชีวศึกษา เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาสามารถค้นหาตัวเองได้ว่า เก่งด้านใด ถนัดด้านไหน และจะส่งเสริมอาชีวศึกษาให้มีความสำคัญมากขึ้น มีความรู้ทางปฏิบัติอย่างแท้จริง มีความเป็นมืออาชีพ เปิดโอกาสให้ประชาชนไปพัฒนาเพิ่มเติมทักษะด้านต่างๆ ตามที่ต้องการ ตามความถนัด โดยเรียนก่อนผ่อนที่หลัง เมื่อมีงานทำจึงจะผ่อนใช้

- จัดศูนย์ฝึกอบรมในสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อให้ประชาชนเข้าไปเรียนรู้เรื่องที่สนใจ พัฒนาทักษะให้คนไทยเป็นผู้ชำนาญในสาขาต่างๆ ใช้ระบบเรียนก่อนผ่อนทีหลัง

) โอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการศึกษานอกระบบ โดยใช้ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี่ ศูนย์วัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งรัฐบาลเตรียมจัดทำโครงการต่างๆ ดังนี้

- โครงการ Internet ตำบล และ Internet หมู่บ้าน (ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน) เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนค้นหาความถนัดของตนเอง เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อต่อยอดในสิ่งที่ต้องการทำ รวมทั้งผู้ที่ต้องการเปลี่ยนวิชาชีพด้วย

- สถานที่รวมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์แก่เด็กนักเรียน โดยมีคอมพิวเตอร์สัญญาณ Wi-Fi ให้ใช้ รวมทั้งมีครูมาสอนการบ้าน



ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองการประชุมครั้งที่ ๑ /๒๕๕๕

ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องแจ้งเพื่อทราบและดำเนินการ

          ๓.๑ งานวิชาการ
๓.๑.๑ ปฏิทินปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการเรียน การสอน การวัดประเมินผล ต่าง ๆ                            
- วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕      กำหนดส่งข้อสอบ                                                         
- วันที่ ๗,๘,๙   มีนาคม ๒๕๕๕       สอบปลายปี ชั้น ป.๖ และ ม.๓                                          
- วันที่ ๑๒,๑๓,๑๔  มีนาคม  ๒๕๕๕  สอบปลายปี ชั้น ป.๑-๕ และ ม.๑-๒                                     
- วันที่ ๑๕-๑๖  มีนาคม ๒๕๕๕    ครูจัดทำเอกสารนักเรียนให้แล้วเสร็จ                                   
- วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๕          ประกาศผลสอบ                                                          
- วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕          วันแห่งความสำเร็จ ม.๓                                                  
- การอนุมัติผลการเรียน               (ให้ครูเช็คเวลาเรียนก่อน) 
๓.๑.๒ การเตรียมวัดและประเมินการทดสอบคุณภาพการศึกษา ของ สทศ. (O-Net ,NT)                   
- วันสอบ O-NET ป.6 กำหนดวันสอบใหม่ คือ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555
- วันสอบ O-NET ม.3 กำหนดวันสอบใหม่ คือ วันที่ 28 และ 29 กุมภาพันธ์ 2555
- ระเบียบ วิธีการสอบ ต่าง ๆ ให้ครูทุกคนศึกษาและเรียนรู้จาก Website สทศ.
- จุดมุ่งหมายของโรงเรียนคือ มุ่งยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของทุกชั้นเรียน จากฐานเดิม  %
๓.๑.๓ สพป.ชบ.๓ กำหนดให้มีการประชุมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสอบ O-NET ประมาณวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
๓.๑.๒ การติดตาม เร่งรัด ตรวจสอบ นิเทศ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน และข้อมูลสารสนเทศ ของนักเรียนในห้องเรียน
- ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับนักเรียนในชั้นเรียน ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
- ข้อมูลด้านสุขภาพ อนามัยนักเรียน
- สมุดบันทึกความดีของนักเรียน
- สมุดบันทึกกิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม
- เอกสารบันทึกการวัดประเมินผลตามสภาพจริง
- เอกสารบันทึกการวัดประเมินผลตามหลักสูตร
- แบบประเมินผลการอ่านวิเคราะห์เขียน
- แฟ้ม 5 ส.ที่แสดงถึงการพัฒนางาน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนด้านตามกรอบงาน ๕ ส. ซึ่งแสดงถึงกิจกรรมรักสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน ความรับผิดชอบ ความเป็นประชาธิปไตย
- เอกสารผลงานครู นักเรียนที่แสดงถึงการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  บันทึกหลังสอน ผลงานการทำโครงงานของนักเรียน
- ข้อมูลสารสนเทศนักเรียนและครอบครัว รายบุคคล
แฟ้มสะสมผลงานนักเรียน
- บันทึกการอ่านของนักเรียนในโครงการรักการอ่าน
- ผลงานครูด้านงานวิจัยในชั้นเรียน
- รายงานโครงการของครู
- รายงานผลการปฏิบัติงานของครู
- รายงานผลโครงการ One Hour Plus
- รายงานผลการปฏิบัติงานขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  หรือกลุ่มสาระที่จัดกาเรียนการสอน ของครูเป็นรายบุคคล
- รายงานโครงการการเยี่ยมบ้าน
- รายงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันยาเสพติดระดับชั้นเรียน
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่างๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง ข้อมูลจึงจำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ดีมีความถูกต้องแม่นยำ
สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล(ทางตรรกะ หรือแปลผลค่าสถิติ)   เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ
ข้อมูลสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้  
๓.๒ งานบุคลากร
                   ๓.๒.๑ การรับบรรจุแต่งตั้งครูผู้ช่วย ๔ อัตรา ได้แก่ นางสาวปริญญา เรือนเงิน วิชาเอกภาษาอังกฤษ  นางสาวนงเยาว์ เชื้อฉุน วิชาเอกประถมศึกษา นางสาวประไพเพชร วงศ์หาญ วิชาเอกภาษาไทย  และนางสาวพัชรา วณิชชากรสวัสดิ์ วิชาเอกปฐมวัย
                   ๓.๒.๒ การย้ายข้าราชการครูสายผู้สอนประจำปี   ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ ให้ครูผู้สอนที่ประสงค์ขอย้าย ดำเนินการส่งคำร้องขอย้าย ภายในวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
                   ๓.๒.๓ การสรรหาบุคลากรเพื่อบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรอง ผอ.รร. และผอ.รร. ตามประกาศ กคศ.สพฐ. เดิมกำหนด ๓๑ ม.ค.-๖ ก.พ. ๒๕๕๕ ให้เลื่อนออกไปก่อนจนกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่เรียบร้อย และให้ยืดอายุบัญชีผู้สอบแข่งขันเพื่อดำรงตำแหน่ง รอง ผอ.รร. และ ผอ.รร.  เดิมออกไปอีก
                   ๓.๒.๔ การปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนครู วุฒิปริญญาตรี ให้ได้รับ ๑๕,๐๐๐ บาท
รายละเอียดดูได้ที่ เว็บ ครูไทย ,ครูบ้านนอก ,บล็อกผู้อำนวยการ      
๓.๒.๕  มอบหมายงานโครงการพิเศษ ห้องสมุดโรงเรียน ให้ครูสุริวัสสา  นิธิมาพงษ์ไทย เป็นคณะทำงานร่วมชอง ช่วงชั้น ที่ ๒
๓.๒.๖ มอบหมายให้ ครูเรณู อันลือชัย รับผิดชอบการจัดทำข้อมูล รายบุคคลนักเรียน ในโปรแกรม SMIS และ ทะเบียนนักเรียน    

          ๓.๓  งานการเงินพัสดุ 

๓.๓.๑ ติดตามผล การจ่ายเงินในโครงการเรียนฟรี ๑๕ ปี ที่มอบหมายครูประจำชั้นรับผิดชอบการดำเนินงาน ระหว่างวันที่ ๑ – ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

จำนวนเงินที่เด็กได้รับคือ                                                                               - อนุบาล            จำนวนเงิน ๑๐๐ บาท ต่อคน/เทอม                                                - ชั้น ป.๑-๖      จำนวนเงิน ๑๙๕ บาท ต่อคน/เทอม                                            - ชั้น ม.๑-๓      จำนวนเงิน ๒๑๐ บาท ต่อคน/เทอม        

๓.๓.๒ เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินตามโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการแล้วในภาคเรียนที่ ๒ ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

๓.๓.๓  ขั้นตอนการดำเนินการ จัดซื้อจัดจ้างตามโครงการ

                             - การจัดซื้อ จัดจ้าง จากร้านค้าหรือผู้รับจ้าง  ต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่พัสดุ ทุกครั้ง

                             - หน.จนท.พัสดุ  จนท.พัสดุช่วงชั้น และเจ้าของโครงการ ต้องประสานงานกัน ให้การจัดซื้อ-จัดจ้าง เสร็จสิ้น โดยการเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้เรียบร้อย โดยเร็ว

                  

๓.๓.๔ นมโรงเรียน

                   - ให้ครูประจำชั้น ส่งเสริมการทำกิจกรรมการดื่มนมของนักเรียน ให้นักเรียนมีความรู้และเห็นคุณค่าของการดื่มนม

- จัดตารางเวลาการดื่มนม และจัดระบบการดื่มนมทุกห้องเรียน  วันละ ๑-๒ กล่อง

- นมเป็นพัสดุที่ครูประจำชั้นมีหน้าที่ดูแลจัดทำทะเบียนคุมและจำหน่าย ที่ตรวจสอบได้

- ผอ.รร.ไม่มีนโยบายมอบนมให้นักเรียนนำกลับไปบ้าน       

๓.๔ งานบริหารทั่วไป

                    ๓.๔.๑ การรับนักเรียนเพื่อเข้าเรียนในปีการศึกษา ๒๕๕๕

- ระดับอนุบาล วันที่ ๒ – ๖ มีนาคม ๒๕๕๕  ผู้ดำเนินงาน คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

- ประถมศึกษาปีที่ ๑ วันที่ ๙ –๑๒ มีนาคม ๒๕๕๕ ผู้ดำเนินงาน คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

- มัธยมศึกษาปีที่ ๑ วันที่ ๓๐ เม.ย. – ๓ พ.ค. ๒๕๕๕ ผู้ดำเนินงาน คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

                   ๓.๔.๒ แผนการรับนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๕

                             - อนุบาล ๓ ขวบ ๒ ห้องเรียน  ห้องเรียนละ ไม่เกิน  ๓๕ คน

                             - อนุบาลศึกษาปีที่ ๑ – ๒ ห้องละ ๓๕ คน รวม  ๑๐๕ คน

                             - ประถมศึกษาปีที่ ๑ ๖ ห้องละ ๔๐ คน

                             - มัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓

                   ๓.๔.๓ การแนะแนวการศึกษาให้นักเรียน

                             - ข้อมูลด้านกิจกรรม ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

- ข้อมูลนักเรียนที่ศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ม.๔ หรือ ระดับ ปวช. หรือประกอบอาชีพ

๓.๔.๔ การดำเนินการโครงการป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา  เช่น การดำเนินการโครงการ ๕ รั้ว  การอบรมให้ความรู้ การเยี่ยมบ้าน  การคัดกรองนักเรียน  การบำบัดผู้ติดยา หรือการส่งต่อ

๓.๔.๕ การจัดกิจกรรมนักเรียนหน้าเสาธง หลังเคารพธงชาติ สวดมนต์ อาราธนาศีล และกิจกรรมก่อนเข้าเรียนภาคบ่าย

๓.๔.๖ การขอความร่วมมือครูให้การดูแลนักเรียนทำความสะอาด ห้องเรียนและเขตพื้นที่ใน โครงการ ๕ ส.

๓.๔.๗ การกวดขันอบรมนักเรียน ไม่ให้เล่น ในห้องเรียน บนอาคารเรียน หน้าระเบียง หรือการซุกซ่อนตามห้องต่าง ๆ ระหว่างพักกลางวัน ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้



ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

                   ๔.๑  การจัดกิจกรรมค่ายลูกเสือ เนตรนารี โรงเรียนวัดมโนรม ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕

                             - กำหนดจัดกิจกรรม ในวันที่ ๙-๑๑  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

                   ๔.๒  การจัดงานสถาปนา โรงเรียน และนิทรรศการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชน โรงเรียนวัดมโนรม ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕  กำหนดจัดงานในวันที่ ๑๖  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

                   - รูปแบบนิทรรศการ เผยแพร่ผลงาน BEST Practice ของโรงเรียน ครู นักเรียน ทั้ง ๓ ระดับ

                   - เผยแพร่ผลงานตามโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล

                   - การทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคล ครบรอบ ๕๘ ปีโรงเรียนวัดมโนรม (ก่อตั้ง ๒๔๙๗)

ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่น

๕.๑ กลุ่มโรงเรียนศรีราชา ๑ จัดโครงการค่ายพักแรมลูกเสือ เนตรนารี ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ที่ค่ายวชิราวุธ วันที่ ๑๕ – ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
          ๕.๒ นายสุวรรณ  จันทร์ไกรทอง  คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนวัดมโนรม ขอสนับสนุน กลองยาว ในงานอุปแสมบทแก้บน ที่วัดมโนรม ในวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ที่วัดมโนรม

๕.๓ การจัดนิทรรศการมหกรรมการศึกษาสู่สาธารณชน “เปิดมิติการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซี่ยน” วันที่  ๒๓-๒๔ มีนาคม ๒๕๕๔ ที่ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

๕.๔ การชุมนุมดุริยางค์เมโลเดียน วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ จัดโดย โรงเรียนบริษัทไทยกสิกรสงเคราะห์ ร่วมกับสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครูอำเภอศรีราชา

                                     

การปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการ 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 31 มกราคม ได้เห็นชอบกฎ ก.พ.ว่าด้วยเรื่องการรับเงินเดือนข้าราชการ พ.ศ. .... เพื่อปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการ 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2555
สำหรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการใหม่จะเป็นดังนี้

          ในปีที่ 1 ข้าราชการวุฒิ ปวช.จะมีเงินเดือนขั้นต่ำ 7,620 บาท ขั้นสูง 8,080 บาท ในปีที่ 2 จะปรับเพิ่มเป็นเงินเดือนขั้นต่ำ 9,000 บาท อัตราขั้นสูง 9,900 บาท
          ข้าราชการวุฒิ ปวส.ในปีที่ 1 จะมีเงินเดือนขั้นต่ำ 9,300 บาท ขั้นสูง 9,860 บาท ปีที่ 2 จะปรับเพิ่มเป็นเงินเดือนขั้นต่ำ 10,500 บาท ขั้นสูง 11,550 บาท
          ข้าราชการวุฒิ ป.ตรี ในปีที่ 1 จะมีเงินเดือนขั้นต่ำ 11,680 บาท ขั้นสูง 12,390 บาท ในปีที่ 2 จะปรับเพิ่มเป็นเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท ขั้นสูง 16,500 บาท
          ส่วนข้าราชการวุฒิ ป.โท จะมีเงินเดือนขั้นต่ำในปีที่ 1 จำนวน 15,300 บาท ขั้นสูง 16,220 บาท และในปีที่ 2 จะมีเงินเดือนขั้นต่ำ 17,500 บาท และขั้นสูง 19,250 บาท
          ทั้งนี้ เมื่อคำนวณจากฐานเงินเดือนปัจจุบันของข้าราชการวุฒิ ป.ตรี ที่รับอยู่จำนวน 9,140 บาท กับฐานเงินเดือนขั้นต่ำที่จะถูกปรับเพิ่มในปีที่ 2 เท่ากับว่า
เงินเดือนจะได้ปรับขึ้นถึง 64% ส่วนวุฒิ ป.โท จะปรับขึ้น 45% จากฐานเงินเดือนปัจจุบัน 12,000 บาท และ วุฒิ ป.เอก ปรับขึ้น 24% จากฐานปัจจุบัน 17,000 บาท
อย่างไรก็ตาม การปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ 2 ครั้งดังกล่าว ให้มีผลใช้บังคับพร้อมกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุในปีที่ 1 และปีที่ 2 ตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยปรับเงินเดือนชดเชยให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับราชการในตำแหน่งระดับแรกบรรจุ ก่อนวันที่มาตรการนี้มีผลบังคับอย่างน้อย 10 ปี ผลจากการปรับเงินเดือนชดเชย จะต้องไม่ทำให้ผู้ซึ่งเคยได้รับเงินเดือนสูงกว่า กลายเป็นผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าผู้ดำรงตำแหน่งในประเภทและระดับเดียวกัน ที่บรรจุในวุฒิเดียวกัน