วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

10 นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา


·         ประกาศ ๑๐ นโยบาย ศธ.ที่จะขับเคลื่อน

การขับเคลื่อนนโยบายด้านการศึกษา จะนำนโยบายของรัฐบาลมาขับเคลื่อนให้ต่อเนื่องตั้งแต่นโยบายสมัย รมว.ศธ.ทั้งสองท่าน คือ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล และศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช เพราะเป็นนโยบายรัฐบาลที่จะต้องขับเคลื่อนไปให้ประสบความสำเร็จให้ได้ ส่วนในรายละเอียดที่ผู้บริหาร ศธ.พิจารณาว่ามีอะไรจะปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือดำเนินการไปแล้วประสบปัญหาอุปสรรค ก็ต้องมาหารือกันต่อไป สำหรับนโยบายที่ผู้บริหารควรให้ความสำคัญและขับเคลื่อนการทำงาน โดยสรุปมีดังนี้

                ๑) เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพผู้ศึกษา ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ขอให้ทุกคนให้ความสนใจ โดยมีประเด็นย่อย ดังนี้

- การปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ เนื่องจากปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก และจากผลการประเมินด้านการศึกษาของเด็กไทยที่พบว่าเด็กเรียนเยอะ แต่รู้น้อย จึงควรมีการทบทวนว่า เด็กควรจะเรียนอะไรเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ต่อ รวมทั้งเนื้อหาสาระในหลักสูตร ที่ควรจะเน้นพื้นฐานคณิตศาสตร์เพื่อต่อยอดการผลักดันเรื่องการผลิตนักวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับภาษาอังกฤษก็มีความจำเป็น เพราะจากผลการประเมินของบริษัท Education First ที่รายงานโดย New York Times ได้ประเมิน ๕๔ ประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ พบว่าประเทศไทยอยู่ใน ๕ อันดับสุดท้าย ดังนั้น ศธ.จะต้องดำเนินการอย่างไรในเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษของเด็กไทย รวมทั้งการใช้ภาษาไทยด้วย เพราะการอ่านเราก็ยังมีปัญหา รวมทั้งควรสร้างจิตสำนึกและค่านิยมที่ถูกต้องให้แก่เด็กด้วย

- การผลิตคนให้ตรงกับอุปสงค์ทั้งภายในประเทศและระดับสากล ขณะนี้ประเทศขาดบุคลากรด้านการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมทั้งพยาบาลที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องผลิตคนให้ตรงกับอุปสงค์ ตัวอย่างคือในขณะนี้มีบริษัทไทยไปลงทุนซื้อกิจการในต่างประเทศ เช่น โรงงานถลุงเหล็กที่อังกฤษ ก็ต้องการบุคลากรของไทยไปทำงานในต่างประเทศเช่นเดียวกับบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งเข้ามาเปิดกิจการในเมืองไทย ก็จำเป็นต้องใช้คนญี่ปุ่นเข้ามาทำงานในเมืองไทยด้วย ดังนั้นคนไทยจะต้องมีศักยภาพเพียงพอที่จะไปทำงานในต่างประเทศได้ รวมทั้งเป็นการเตรียมคนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วย โดยครูอาจารย์จะต้องแนะนำนักเรียนนักศึกษาตั้งแต่ต้น หากสนใจเรียนในสาขาที่ขาดแคลน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ หรือเรียนพยาบาลที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ เมื่อเปิดประชาคมอาเซียนก็จะมีงานรองรับและมีรายได้ที่ดี แต่หากเลือกเรียนในสายสังคมหรือสาขาวิชาที่มีคนเรียนจำนวนมากแล้ว อาจไม่มีโอกาสได้ทำงานตามสาขาที่เรียน หรืออาจต้องไปทำงานในสาขาอื่นที่ไม่ได้เรียน ซึ่งในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้เน้นให้ ศธ.ผลิตคนให้เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์ คือในส่วนของอาชีวศึกษาที่จะต้องเน้นทั้งด้านคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมยานยนต์

- การปลูกฝังคุณธรรมและจิตสำนึกประชาธิปไตย โดย ศธ.ได้ดำเนินการเรื่องการปฏิบัติธรรมของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะการปลูกฝังเรื่องเหล่านี้ไม่ควรทำเป็นครั้งคราว แต่ควรมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อต้นปี ๒๕๕๕ ตนได้รับเชิญให้ไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเป็นวินัยมาก โดยได้มีโอกาสไปดูงานโรงเรียนประถมศึกษา เพราะเหตุการณ์สึนามิที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้ต่อสู้กับเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งเห็นประชาชนมีวินัยในการต่อแถวได้อย่างยอดเยี่ยม จากการดูงานพบว่าได้เห็นการฝึกอบรมด้านวินัยตั้งแต่เล็กๆ เกี่ยวกับการแบ่งหน้าที่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความเสียสละในห้องเรียน ทั้งนี้หากเรานำแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ หรือดำเนินโครงการครูพระสอนศีลธรรม รวมทั้งการดำเนินโครงการปฏิบัติธรรมสำหรับผู้บริหารของอดีต รมว.ศธ.(ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช) ก็ถือเป็นนโยบายที่ดี เพราะเมื่อได้ผลในทางที่ดีขึ้น ก็ควรดำเนินการต่อไป

- การพัฒนาคุณภาพครู อาจารย์ โดยเฉพาะด้านที่ขาดแคลน ซึ่งผลการประเมินต่างๆ พบว่ามีครูที่สอนไม่ตรงตามสาขาจำนวนมาก ดังนั้นจึงจะต้องพัฒนาครูผู้สอนเหล่านี้ รวมทั้งครูบรรจุใหม่ให้มีคุณภาพเช่นกันด้วย นอกจากนี้ได้รับทราบปัญหาคนที่มีความรู้ในสาขาที่ขาดแคลน เช่น ด้านภาษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ที่เต็มใจจะเข้ามาช่วยสอน แต่ติดปัญหาไม่สามารถสอนได้ เพราะไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู แต่ความจริงคือบุคคลเหล่านั้นสามารถสอนในมหาวิทยาลัยได้ ได้รับทราบว่ามหาวิทยาลัยเชิญไปสอนได้ แต่จะไปช่วยสอนประจำในโรงเรียนไม่ได้ ซึ่งต้องยอมรับว่าหลายท่านมีความรู้มากกว่าครูที่เรามีอยู่เพราะเป็นสาขาที่เราขาดแคลน หรือกรณีที่นำนักศึกษาจากอังกฤษเข้ามาช่วยสอนในโรงเรียน ก็ยังพบปัญหาเช่นกัน ที่จริงแล้วหากเป็นการช่วยสอนไม่น่าจะมีปัญหา เพราะไม่ใช่เป็นครูประจำ โดยเฉพาะธุรกิจต่างๆ ซึ่งมี Corporate Social Responsibility : CSR อยู่แล้ว แทนที่จะไปทาสีโรงเรียน อาจเป็นการช่วยสอนน่าจะดีกว่าด้วยซ้ำไป

- การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา เข้าใจว่าจะมีหลายโรงเรียนที่ทำได้ดี มีการจัดระบบการศึกษาที่ดี และมีโรงเรียนไปดูเป็นตัวอย่าง ซึ่ง ศธ.ควรจะไปดูว่าโรงเรียนใดที่จัดการศึกษาได้ดี มีรูปแบบต่างๆ หลากหลาย และเป็นตัวอย่างให้โรงเรียนอื่นพิจารณานำไปปรับใช้ได้ จึงควรจะมีการกระจายแนวความคิดดีๆ เหล่านี้เพิ่มขึ้นต่อไป

 

๒) การสร้างโอกาสทางการศึกษา ซึ่งจะครอบคลุม ๒ เรื่อง คือ

- สร้างโอกาสทางการศึกษาให้ครอบคลุมผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการทุพลภาพ อย่างทั่วถึง เช่น โครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน ซึ่งในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้เน้นให้โอกาสแก่คนที่ยากไร้ แต่ในระยะหลังได้เปิดโอกาสให้มีการสอบแข่งขัน ใครสอบได้ดี ก็จะได้รับทุน จึงต้องการให้พิจารณาด้วยว่าถึงแม้จะมีทุนสำหรับเด็กเก่ง แต่คงต้องพิจารณาทุนสำหรับผู้ยากไร้เพิ่มเติมด้วย มิฉะนั้นคนที่ยากไร้ก็จะเสียโอกาสที่จะไปศึกษาต่อในต่างประเทศ รวมทั้งด้านความเสมอภาคต่างๆ ด้วย

- การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต เช่นการจัดการศึกษาของ กศน. ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่อยู่วัยทำงานได้ยกระดับตัวเอง พัฒนาให้รองรับกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ต่อไปเราจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ เพราะคนอายุ ๖๐ ปียังสามารถทำอะไรได้อีกมาก เพราะคนที่อยู่ในวัยทำงานรองรับไม่เพียงพอ ในหลายประเทศให้คนที่อายุมากแล้ว แต่ไม่สูงมากเกินไป กลับมาเป็นปัจจัยการผลิตอยู่ เราจะดำเนินการให้ท่านเหล่านี้ได้รับการพัฒนาเรื่องความรู้ การประกอบอาชีพ เพื่อให้กลับมาเป็นกำลังการผลิตของสังคม มิฉะนั้นเด็กรุ่นหลังเรา จะแบกรับพวกเราไม่ไหว เพราะจำนวนน้อย แต่ผู้สูงอายุของเรามีจำนวนมากกว่า

๓) การนำสันติสุขสู่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศธ.จะต้องประสานงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ดำเนินการเรื่องนี้ ขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้บอกว่า ต้องเน้นการศึกษาในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบสุขใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่ง ศธ.ต้องมีบทบาทย่างมากในเรื่องนี้

๔) การแก้ไขปัญหายาเสพติด ที่ผ่านมา ศธ.ดำเนินการอยู่แล้ว แต่ต้องเข้มแข็ง ติดตามใกล้ชิด ในสถานศึกษาต้องไม่มียาเสพติด ซึ่งในสมัยก่อนเรียกว่า "โรงเรียนสีขาว"

 

๕) แท็บเล็ต จะจัดหาในปีนี้สำหรับนักเรียนชั้น ป.๑ และ ม.๑ โดยขอให้ดูแลในเรื่องการจัดหา โดยให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส ที่สำคัญเนื้อหาสาระในแท็บเล็ตต้องมีการพัฒนาเนื้อหาให้มีความน่าสนใจสำหรับเด็ก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้

๖) การวิจัย เป็นเรื่องสำคัญ แต่ที่ผ่านมาเหตุที่งบประมาณการวิจัยลดลง ก็เพราะวิจัยไปแล้วคนไม่เห็นการนำไปใช้ประโยชน์ แต่หากวิจัยแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อภาคการผลิต เป็นประโยชน์ต่อภาคอื่นๆ งบประมาณวิจัยจะไหลเทมาทั้งจากภาครัฐและเอกชน แนวทางแก้ไขอย่างแรกคือ ขอให้ไปดูงานวิจัยที่ทำไว้แล้ว ที่อยู่บนชั้น บนหิ้งทั้งหลาย งานวิจัยใดที่นำมาปรับใช้เป็นประโยชน์ประยุกต์ใช้ได้ ภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ หรือภาคสังคม นำมาปัดฝุ่น แล้วให้คนได้เห็นว่า สิ่งที่วิจัยไปแล้วใช้ได้จริง เป็นประโยชน์จริง อย่างที่สอง เวลาจะวิจัยอะไร หากได้มีการทำงานร่วมกับคนที่จะใช้ผลงานวิจัย เช่น ภาคธุรกิจ หากวิจัยแล้วภาคธุรกิจได้ประโยชน์ หมายความว่าแทนที่รัฐจะต้องเสียงบอุดหนุนงานวิจัยเอง ๑๐๐% ธุรกิจอาจจะรับทั้ง ๑๐๐% หรืออาจจะมีส่วนร่วมก็ได้ อย่างนี้ก็จะเห็นว่าทำแล้วได้ประโยชน์ ขอให้นักวิจัยทั้งหลาย นอกจากวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์แท้ๆ ก็ทำไปส่วนหนึ่ง แต่ส่วนที่นำไปใช้ได้จริง ประยุกต์ใช้ได้จริง ก็ต้องมี ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้คนเห็นความสำคัญของงานวิจัย และเราจะได้พัฒนาส่งเสริมงานวิจัยกันมากกว่านี้

๗) กองทุนตั้งตัวได้ ขณะนี้เมื่อพิจารณาผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่ามีความพร้อมพอสมควร สามารถดำเนินการนโยบายดังกล่าวได้ นอกจากนี้ผู้ประกอบการทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้ประกอบการใหม่ๆ ที่มีระบบช่วยสนับสนุน ก็สามารถดำเนินการในส่วนที่ชำนาญ แต่ส่วนที่ไม่ชำนาญอาจมีระบบที่มีผู้ดำเนินการให้ ซึ่งอาจไปจ้างอีกประเภทหนึ่งมาดำเนินการ เช่น ผู้ประกอบการบางรายเก่งในด้านการผลิต แต่เรื่องการทำบัญชี การบริหารต่างๆ อาจมีระบบใดเข้ามาช่วยดูแลตรงนี้หรือไม่

๘) การผลักดันการปฏิรูปการเมืองเพื่อให้มีรัฐธรรมนูญของประชาชน ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลเช่นกัน โดย ศธ.จะมีส่วนร่วมในการรณรงค์ ทำความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

๙) งบประมาณ ศธ.เป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด แต่สิ่งที่จะขอให้พิจารณาคืองบลงทุน โดยขอให้เร่งดำเนินการให้มีการเบิกจ่าย โครงการเดียวกันให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ ให้เงินลงไปในระบบเศรษฐกิจ เพื่อช่วยระบบเศรษฐกิจของประเทศด้วย อย่าไปปล่อยค้างท่อจนกระทั่งปลายปีงบประมาณ และการจัดซื้อจัดจ้างก็ให้ดำเนินการตามระบบที่โปร่งใส หากไม่จำเป็นต้องใช้วิธีกรณีพิเศษ ก็ขอให้จัดซื้อจัดจ้างโดยระบบปกติ เพื่อจะได้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม

๑๐) ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

- ความโปร่งใส ไม่มีการทุจริตคอรัปชัน นายกรัฐมนตรีย้ำให้ดูแลเรื่องการทุจริตคอรัปชันอย่างเต็มที่ ต้องพยายามไม่ให้เกิดข้อครหา โดยเฉพาะเรื่องการซื้อขายตำแหน่ง เพราะหากหน่วยงานใดที่มีข้อครหาเกี่ยวกับการซื้อขายตำแหน่ง ก็หลีกไม่พ้นที่จะมีการทุจริตคอรัปชันตามมา ซึ่งจะส่งผลให้คนที่ทำงานอย่างเข้มแข็ง ตรงไปตรงมา ทำงานอย่างทุ่มเท ก็จะหมดกำลังใจ จึงขอให้ช่วยกันดูแลให้ดี

- การล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษา อีกส่วนหนึ่งที่มีข่าวบ่อยๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง คือ การล่วงละเมิดทางเพศในสถานศึกษา ระหว่างครูกับนักเรียน อาจารย์กับนักศึกษา และในส่วนของบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจะต้องไม่ให้คนในวงการเดียวกันมาทำอะไรที่เป็นการล่วงละเมิดทางเพศ หากเราดำเนินการอย่างจริงจัง เรื่องเหล่านี้ก็จะน้อยลง แต่หากเราไม่เอาจริง ดูเป็นเรื่องที่ไม่ให้ความสนใจ ก็จะเกิดเรื่องนี้ขึ้นบ่อยๆ ในสถานศึกษา

- ประสิทธิภาพ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงโรงเรียนขนาดเล็กมาก ซึ่งผลประเมินคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับที่ต่ำ แต่หากเราจัดระบบรับส่งเด็กจากโรงเรียนขนาดเล็กด้อยคุณภาพ ไปเรียนอีกโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ตั้งห่างไกลออกไป แต่มีคุณภาพดีกว่า โดยผู้ปกครองไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้เด็กได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น รวมทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย แต่การดำเนินการจะต้องไม่มีปัญหาเรื่องมวลชน คือชาวบ้านก็ไม่ติดใจ และจัดระบบวิธีการที่ดีในการรับส่งนักเรียนอย่างสะดวก ตรงนี้คือส่วนที่จะช่วยกันพัฒนาขึ้นมา




 

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ระเบียบวาระการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โรงเรียนวัดมโนรม

ระเบียบวาระการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาครั้งที่ ........./๒๕๕๕วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมน้อมศิลป์
(ต่อ)

........................................................................................
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเสนอเพื่อทราบ

๓.๑ การเข้าค่ายคุณธรรมของครูแะบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนดีประจำตำบล วันที่ ๒๒ - ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๕
ณ.สำนักปฏิบัติธรรมพุทธสาวิกา ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ๒๐๒๒๐    คุณครูุกท่านศึกษารายละเอียด สิ่งที่ต้องเตรียม อุปกรณ์ สิ่งของ ข้อปฏิบัติ แผนที่เส้นทางการเดินทาง  ที่นี่    http://www.buddhasavika.com/ 
๓.๒ รายงานการดำเนินการ BEST PRACTICE ช่่วงชั้น และกลุ่มสาระ และโครงการตามนโยบายเร่งรัดคุณภาพ
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
๔.๑ การจัดงานเกษียณอายุราชการ และแสดงมุฑิตาจิต แก่ ครูจันทนา กิติเวชานนท์  และครูเบญจวรรณ บุญศรี
๔.๒ การสอนชดเชย กรณีปิดเรียนวันที่ ๒๒-๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๕
๔.๓ การติดตามงานต่าง ๆ ในระบบประกันคุณภาพภายใน งานวิชาการ งานบุคลากร งานงบประมาณ งานบริหารทั่วไป
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ
๕.๑ การสนับสนุนงานเกษียณอายุราชการของโรงเรียนในสพป.ชบ.๓

ระเบียบวาระการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โรงเรียนวัดมโนรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี


ระเบียบวาระการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

ครั้งที่ ........./๒๕๕๕

วันที่ ๒๐   สิงหาคม  พ.ศ.  ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมน้อมศิลป์
........................................................................................

ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ

๑.๑ ขอแสดงความเสียใจกับคุณครูเอ็นดู เอื้อสว่างพร ที่เสียคุณแม่ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ และคุณครูสิทธิพันธ์ สว่างสังวาลย์  ที่เสียคุณพ่อ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๕  คณะครูโรงเรียนวัดมโนรม ขอแสดงความเสียใจ และร่วมใว้อาลัยแก่ครอบครัวทั้งสอง ณ โอกาสนี้

๑.๒ การจัดงานที่เป็นกิจกรรมเสริมในช่วงรอบเดือนที่ผ่านมา หลายงาน ได้แก่
                การจัดกิจกรรมฟุตบอล ๙ คน ของสาระสุขศึกษาพลศึกษา ที่ส่งเสริมให้นักเรียนร่วมส่งทีมเข้าแข่งขัน จากทุกห้องเรียน เป็นกิจกรรมที่เป็นที่สนใจมากของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา นักเรียนได้ใช้พลังความเป็นวัยรุ่นอย่างเต็มที่ นักเรียนได้มีส่วนร่วม ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  จุดประกายความคิดที่อยากเป็นนักกีฬา ขวนขวายที่จะหาชุดลงแข่งขันที่สวยงาม ยกระดับมาตรฐานการเล่นกีฬาของนักเรียน เกิดความรักความสามัคคี กิจกรรมอย่างนี้น่าจะจัดให้มีได้ตลอดปี
                การจัดกิจกรรมสัปดาห์ภาษาไทย เมื่อวันที่ ๒๓-๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ซึ่งกลุ่มสาระภาษาไทยได้จัดกิจกรรมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในหลาย ๆ กิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความสำนึกและตระหนักในการใช้ภาไทยอย่างถูกต้อง ในฐานะเป็นภาษาประจำชาติ   
                การจัดกิจกรรมส่งเสริมพุทธศาสนา วันอาสาฬหบูชา(๒ ส.ค.๒๕๕๕)  วันเข้าพรรษา(๓ ส.ค.๒๕๕๕)  ด้วยการจัดกิจกรรมนักเรียน ตกแต่งประดับต้นเทียน แห่เทียนและถวายเทียนจำนำพรรษา ที่วัดมโนรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี  เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๕  
                การจัดกิจกรรมวันวันอาเซี่ยน เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๕  เป็นกิจกรรมที่เสริมความรู้ให้กับนักเรียนในเรื่องของประเทศในกลุ่มอาเซี่ยน จากการเยี่ยมชม ทุกกลุ่มสาระได้จัดกิจกรรมให้นักเรียน ได้เหมาะสมและนักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วม เช่น สาระคณิตศาสตร์ จัดเป็นฐานเรียนรู้สกุลเงินในกลุ่มประเทศอาเซียน สาระภาษาไทย จัดฐานเรียนรู้เรื่องคำทักทาย ของประเทศในกลุ่มอาเซียน  ไทย-สวัสดี บลูไน – สาลามัตดาตัง สิงคโปร์ - หนีฮ่าว ลาว-สะบายดี  อินโดนีเซีย-สาลามัต เวียง มาเลเซีย-ซาลามัตดาตัง ฟิลิปปินส์-กูมุสตา กัมภูชา-ซัวสเด  พม่า-มิงกาลาบา เวียตนาม-ซินจ่าว กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ จัดการเรียนรูด้วยดอกไม้ประจำชาติในกลุ่มประเทศอาเซียน  สนใจเกี่ยวกับอาเซียนเพิ่มเติมคลิกที่ลิงค์นี้
http://web62.sskru.ac.th/aseansskru/maxsite/?name=knowledge&file=readknowledge&id=10   และฐานอื่น ๆ ทั้งหมดจัดได้น่าสนใจ ทั้งสิ้น
                กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ ของโรงเรียนปีการศึกษา ๒๕๕๕ ในปีนี้ได้คณะครูของช่วงชั้นที่
สองเป็นแม่งานในการดำเนินการเรื่องสถานที่และวางแผนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ   และกิจกรรมในวันแม่ในปีนี้ ทำได้ลงตัว คุณแม่ของนักเรียนมาร่วมงานมากเป็นพิเศษ กิจกรรมในวันงานสถานที่สวยงาม กิจกรรมเหมาะสม

                ๑.๓ เรื่องที่น่ายินดียิ่งอีกเรื่องหนึ่ง ได้แก่โรงเรียนวัดมโนรมได้รับรางวัลตราพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ ในโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย”  ในวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕  เวลา ๐๘.๓๐- ๑๒.๐๐ น. ณ ศูนย์นิทรรศการไบเทค บางนา กทม.

                ๑.๔ การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามปฏิทิน สพฐ. เรื่องนี้ขอให้ทุกท่านศึกษาระเบียบต่างๆ ในการประเมินที่ทุกท่านสามารถศึกษาจากแหล่งข่าวการศึกษาทั่วไป โดยเฉพาะเว็บไซด์ที่รวบรวมข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้มีอยู่มาก

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตารางออกอากาศมูลนิธิการศึกษาทางไกล

ตารางออกอากาศ
ตารางออกอากาศ การอบรมครูภาษาอังกฤษ สำหรับครูโรงเรียนวังฯ และ พื้นที่ใกล้เคียง(เทปย้อนหลัง)
ตารางอบรมครูภาษาอังกฤษ สำหรับครูโรงเรียนวัง และ พื้นที่ใกล้เคียง(เทปย้อนหลัง) เมื่อวันที่ 10-11 เดือน พฤษภาคม 2555 โดย Mr. Andy ณ โรงเรียนวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 15 2กค.-30กย.55 )ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 15 5มิย.-1กค.55 )
ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV15 5 มิ.ย.2555 - 1 ก.ค.2555 )

ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 14 14พค.-30กย.55 )ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 13 11มิย.-30กย.55 )
ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV13 11 มิ.ย.2555 - 30 ก.ย. 2555 )

ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 13 14พค.-10มิย.55 )
ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV13 14 พ.ค.2555 - 10 มิ.ย.2555 )

ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 7-12 11มิย.-30กค.55 )ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 7-12 16พค.-10มิย.55 )
ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV 7-12 16 พ.ค.2555 - 10 มิ.ย.2555 )

ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV1-6 11มิย.-28กย.55 )
ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV1-6 11 มิ.ย. 2555 - 28 ก.ย. 2555 )

ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV1-6 16พค.-10มิย.55 )
ตารางออกอากาศ 24 ชม. (DLTV1-6 16 พ.ค.2555 - 10 มิ.ย.2555 )

ตารางออกอากาศ ช่อง DLTV15(08.30น.-20.00น./4 มิ.ย.-30 ก.ย. 2555)
ตารางออกอากาศ ช่อง DLTV15 ภาคเรียนที่ 1/2555 (08.30น.-20.00น./4 มิ.ย.-30 ก.ย. 2555)มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ร่วมกับ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

ตารางเรียนออกอากาศสด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 (ป.1-6)
ตารางเรียนออกอากาศสด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 (ป.1-6)เปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 วันที่ 16 พฤษภาคม 2555 (ออกอากาศวันแรก)และปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 วันที่ 28 กันยายน 2555 (ออกาอากาศวันสุดท้าย)

ตารางเรียนออกอากาศสด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 (ม.1-6)

รมว.ศธ.ได้เน้นถึง ๒๙ นโยบายหลักด้านการศึกษาของ ศธ.


ศึกษาธิการ - ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ

รมว.ศธ.กล่าวถึงการประชุมในครั้งนี้ว่า เป็นการประชุมนโยบายและการปฏิบัติของ ศธ.ซึ่งได้เน้นย้ำถึง ๒๙ นโยบายต่อผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ โดยนโยบายที่สำคัญคือ ให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง คือ ดูแลลูกหลานของพี่น้องประชาชนเหมือนลูกหลานของเรา และดูแลครูอาจารย์เหมือนพี่น้องของเรา จึงฝากผู้บริหารถึงแนวทางการทำงานว่า อย่าโกงเงินทอง โกงด้วยอำนาจหน้าที่ หรือพยายามหาเรื่องใส่ร้ายผู้อื่น สำหรับตนจะไม่กลั่นแกล้งรังแกใคร แต่จะดูแลการทำงาน แม้แต่ช่วงการโยกย้าย ซึ่งแม้อาจจะมีการปรับเปลี่ยน แต่ก็จะเป็นไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม และจะไม่ยอมให้เรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นในกระทรวงโดยไม่สมเหตุสมผล ทั้งนี้เพื่อต้องการให้เป็นกระทรวงศึกษาธิการไทยใสสะอาด

พร้อมนี้ได้ประกาศในที่ประชุม โดยขอให้ผู้บริหาร ศธ.เร่งขับเคลื่อนในเรื่องนี้ โดยนำระบบคุณธรรม จริยธรรม เข้ามาสู่ในวงการศึกษา ซึ่งมีหลายแนวทาง เช่น นำครูอาจารย์ ผู้บริหาร นักเรียนนักศึกษาเข้าวัด หรือปฏิบัติธรรมในระยะเวลา ๓-๕ วัน โดยครูสามารถนำการอบรมธรรมะมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำและประเมินผลงานต่างๆ ได้ ส่วนนักเรียนอาชีวะที่มีปัญหา ก็ควรให้ปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข้นเพื่อกล่อมเกลาจิตใจ ดังนั้นหลักใหญ่ๆ ที่จะดำเนินการคือ ต้องเปลี่ยนวิธีคิดและเน้นความโปร่งใสในการบริหารงานบุคคล รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ

นอกจากนี้ รมว.ศธ.ได้เน้นถึง ๒๙ นโยบายหลักด้านการศึกษาของ ศธ. ว่าขอให้ช่วยกันดำเนินการขับเคลื่อนให้เป็นไปตามนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน (เน้นตัวสีแดง) ดังนี้

๑) ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
ดูแลลูกหลานประชาชนเหมือนลูกหลานของเรา จัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเยาวชนทั้งภาคเมืองและชนบท ปั้นนักศึกษาไทยให้เป็นมืออาชีพ เติบโตเป็นพลเมืองโลกที่ทันสมัย

๒) ปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ : Transparency and Accountability การบริหารงานบุคคลที่โปร่งใส  ร่วมรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษาของลูกหลานไทย

๓) ปรับเลื่อนวิทยฐานะ โยกย้ายครูด้วยความเป็นธรรม  สอบแข่งขัน วัดความสามารถด้วยตนเอง ไร้เส้นสายฝากฝัง

๔) สอบ O-NET ป.๖ ม.๓ ม.๖ ทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา วัดผลแต่ละช่วงชั้นประกันคุณภาพการศึกษา นำผลไปใช้เพื่อศึกษาต่อ เชื่อมโยงการปฏิบัติงานของครูผู้สอน เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ

๕) กระทรวงศึกษาธิการไทยใสสะอาด  สร้างความโปร่งใสในการบริหารกระทรวงศึกษาธิการ  ให้ปราศจากทุจริตคอรัปชัน

๖) ปฏิบัติธรรม นำการศึกษา  แก้ปัญหายาเสพติด ขจัดทุจริตคอรัปชัน

๗) แท๊ปเล็ตพีซี เพื่อการศึกษา  สำหรับนักเรียน ป.๑ และ ม.๑ ทุกคน  เติมภูมิปัญญาด้วยเทคโนโลยี มีความรู้ได้อย่างไร้ขีดจำกัด

๘) เรียน ม.๖ จบ ได้ใน ๘ เดือน  เรียนในเวลา และนอกเวลา เพื่อก้าวทันโลก และทันลูกหลาน

๙) กองทุนตั้งตัวได้  เงินทุนขั้นต้น สำหรับนักศึกษา พร้อมเป็นเจ้าของธุรกิจในอนาคต

๑๐) ๑ อำเภอ ๑ ทุน  ทุนการศึกษาสานฝันให้เด็กเก่งทุกอำเภอ เรียนต่อต่างประเทศ

๑๑) สื่อสารภาษาอังกฤษได้ พร้อมเข้าสู่ประชาคม ASEAN  ๘๐% ของนักเรียนทั้งประเทศ พูดภาษาอังกฤษได้ พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘

๑๒) เรียนดีอย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่อนุบาลจนจบ ม.๖  รัฐบาลจัดสรรงบประมาณสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษา ฟรี ค่าเล่าเรียน ฟรี ค่าเครื่องแบบ ฟรี ค่าอุปกรณ์การเรียน ฟรี ค่าหนังสือเรียน  ฟรี ค่ากิจกรรม

๑๓) สร้างผู้นำอาเซียน ASEAN Leaders Scholarship  เพิ่มทุนการศึกษาแก่นักศึกษาอาเซียน เพื่อเตรียมพร้อมเป็นผู้นำในภูมิภาค

๑๔) ทุนการศึกษาเพื่ออนาคต (กรอ.) Income Contingency Loan   โอกาสเข้าถึงแหล่งทุน เรียนก่อน ผ่อนทีหลัง ส่งคืนเมื่อมีรายได้

๑๕) ครูมืออาชีพ  ฝันอยากเป็นครูได้เป็นครู จบแล้วมีงานทำ มั่นคงในชีวิต ร่วมสร้างลูกหลานไทยให้เฉลียวฉลาด

๑๖) ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix-it Center ศูนย์บริการซ่อมสร้าง ๒๐,๐๐๐ แห่งทั่วประเทศ ฝึกฝนช่างฝีมือ ให้บริการประชาชน

๑๗) การศึกษาดับไฟใต้ จัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้  โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชาชน และผู้นำในพื้นที่

๑๘) ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน OTOP Mini MBA  ฝึกอาชีพ เพิ่มพูนทักษะ คิดเป็น ผลิตเป็น ส่งออกต่างประเทศ เพิ่มรายได้แก่ครอบครัว

๑๙) เป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติ  สร้างการศึกษาให้แข็งแกร่ง เพื่อแข่งขันในประชาคม ASEAN

๒๐) อัจฉริยะสร้างได้  ส่งเสริมให้เด็กเก่ง เด็กฉลาด พร้อมเป็นผู้นำประเทศในทุกสาขา

๒๑) สร้างพลังครู    แก้ปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างโอกาส

๒๒) สร้างหลักสูตรคิดเป็น ทำเป็น  ลดหลักสูตรท่องจำ รู้ด้วยความเข้าใจ ใช้ปัญญา จินตนาการอย่างไม่สิ้นสุด

๒๓) Internet ตำบล และหมู่บ้าน ค้นหาความถนัดตนเอง เรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา

๒๔) คูปองสร้างเสริมอัจฉริยะ คูปองแลกหนังสือ ให้โอกาสเยาวชน เลือกหนังสือตามความพอใจ

๒๕) เทียบโอนประสบการณ์สายอาชีพ จบ ปวช.ได้ใน ๘ เดือน

หลักสูตรเทียบโอนเรียนเข้มระยะสั้น เทียบโอนความรู้ทักษะประสบการณ์สายอาชีพ

๒๖) โรงเรียนร่วมพัฒนา รวมพลังครู นักเรียน เพื่อความแข่งแกร่งทางวิชาการ
พร้อมสื่อการสอนสมัยใหม่ ยานพาหนะรับส่ง

๒๗) ศูนย์อบรมอาชีวศึกษา  พัฒนาอาชีพให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชน
เรียนรู้ประสบการณ์ก่อนไปประกอบอาชีพ

๒๘) ตั้งสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเลิศในการเรียนสายอาชีพ ปริญญาตรีสายปฏิบัติการ เติมเต็มความรู้ คู่ความเชี่ยวชาญในอาชีพ

๒๙) โรงเรียนในโรงงาน โรงงานในโรงเรียน เรียนรู้จริงในสถานประกอบการ ระหว่างเรียนมีรายได้ จบแล้วได้งานทำ

รมว.ศธ.ได้กล่าวถึงการร่างกฎระเบียบต่างๆ ของ ศธ.ด้วยว่า ต่อไปควรร่างกฎระเบียบให้น้อยลง เพื่อไม่ให้ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เราร่างขึ้นมา ไปจำกัดให้การทำงานต่างๆ ช้าจนเกินไป โดยย้ำให้ร่างกฎระเบียบโดยมองไปที่ผู้ใช้ระเบียบ ไม่ใช่ร่างขึ้นมาเพื่อ ศธ.

บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน
http://www.moe.go.th/websm/2012/jul/187.html


วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จุดเน้นของ สพฐ. ปี 2555


ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. ได้กล่าวใน "ที่นี่มีคำตอบ จดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 4/2555" ทางเว็บไซต์ http://210.246.189.115/ewtadmin/ewt/demo_0850/ewt_news.php?nid=921 ไว้ว่า

การวางแผน เป็นกระบวนการคิดก่อนทำ ส่วนกลยุทธ์ เป็นวิธีที่ดีที่สุด(Best way) ที่จะทำให้พันธกิจของหน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นการวางแผนเชิงกลยุทธ์ จึงเป็นการหาวิธีการที่เราคิดว่าดีที่สุด ในสภาวะแวดล้อมภายในและภายนอก ที่ประสบอยู่ และเราก็มักจะใช้เทคนิค SWOT วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเพื่อการศึกษา จุดแข็ง(Strength) และจุดอ่อน(Weak) และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อศึกษาโอกาส(Opportunity) และข้อจำกัด อุปสรรค ภัยคุกคาม(Treat) หลายท่านมีปัญหาในการแบ่งสภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก เกณฑ์ที่ใช้แบ่งก็คือ เรื่องใดที่เราสามารถควบคุม(Control) ได้ เรื่องนั้นเป็นสภาพแวดล้อมภายใน ถ้าเรื่องใดเหนือการควบคุมของเรา ก็เป็นสภาพแวดล้อมภายนอก กลยุทธ์ที่ดีต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป อ่านแล้วอมยิ้ม รู้นะว่าคิดอะไรอยู่ คงคิดว่าแหมหลักการดีเชียว แต่กลยุทธ์ สพฐ. เหมือนเดิมมา 3-4 ปีแล้ว 555...อ้าว...ก็สภาพแวดล้อมไม่ค่อยได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าใดนักไง ดังนั้นกลยุทธ์จึงเหมือนเดิม

ปี 2555 นี้ สพฐ.มีจุดเน้น 10 ประการด้วยกัน ดังนี้

1. ผลสัมฤทธิ์ในวิชาหลักเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 3 (Student achievement)
2. เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ (EQ : Emotion Quotient)
3. นักเรียน ป.3 ทุกคนอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น นักเรียนป.6 ทุกคนอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขคล่อง และมีทักษะ การคิดขั้นพื้นฐาน (Literacy & Numeracy)
4. นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความเป็นไทย จิตสาธารณะ อยู่อย่างพอเพียง (Sufficiency & Public Mind)
5. เพิ่มศักภาพนักเรียนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปศาสตร์ (Excel to excellence)
6. สร้างทางเลือกในการเรียนรู้ที่เน้นให้ประชากรวัยเรียนทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ลดอัตราการออกกลางคัน ศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ (Alternative Access)
7. นักเรียน ครู และสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพสอดคล้องอัตลักษณ์ (Southern-Border Provinces)
8. นักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและสังคมพหุวัฒนธรรม (ASEAN Community)
9. สถานศึกษาทุกแห่งมีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง และได้รับการรับรองจากการประเมินคุณภาพภายนอก ตลอดจนการพัฒนาสถานศึกษาในพื้นที่ชนบท โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล (Quality Schools)
10. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (Effective Service Areas)

การนิเทศติดตามงานโครงการ ๕ ส. กรกฎาคม ๒๕๕๕


การนิเทศติดตามงานโครงการ ๕ ส.

๑.     ที่ล้างมือข้างอาคารตันติวงษ์ ปรับปรุงเรื่อง ส.สะอาด และท่อระบายน้ำตัน

๒.     ห้องเก็บของอาคารตันติวงษ์ ขาดทั้ง ๕ ส.

๓.     ระเบียงหน้าอาคารเรียน  ส่วนใหญ่ขาด ส.สะอาด

๔.     ทางเดินข้นลงบันได ควรมีสัญลักษณ์ลูกศรเดินทางขวา

๕.     ส้วมครูเปิดน้ำทิ้งไว้

๖.     ห้องน้ำหลังอาคารตันติวงษ์ ควรเพิ่ม ส.สะอาด และ ป้ายกำหนดผู้ดูแลทำความสะอาด

๗.     ห้องวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ ๒ มีการดูแลครบ ๕ ส.

๘.     สวนหย่อมหน้าอาคารควรได้รับการดูแลต้นไม้และสิ่งประดับตกแต่งให้สดชื่นสวยงาม มีการบูรณาการให้เข้าการการเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย

๙.     บอร์ดบริเวณด้านหน้าอาคารอนุบาล ควรได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ และมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับนักเรียนหรือผู้ปกครอง

๑๐. เครื่องรับโทรทัศน์ในห้องเรียน ควรได้ใช้ประโยชน์ที่คุ่มค่า และควรมีแผนการใช้ บันทึกผลการใช้ทุกครั้ง

๑๑. ป้ายต่าง ๆ ที่ติดบริเวณหน้าห้อง ควรเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน  เช่น รูปนักเรียน กรรมการ ๕ ส. ตารางเรียน สถิตินักเรียน

๑๒. อาคารมัธยมให้เพิ่ม ส.สะอาด บริเวณบันไดขึ้นลง ขอบคานคอนกรีตที่มองเห็น ที่มีฝุ่น เกาะ ควร เพิ่ม ส.สะอาด

๑๓. ป้ายนิเทศที่อาคารอาทรพัฒนา จำนวน ๓ ป้าย ควรได้รับการจัดมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับนักเรียน

๑๔. พบไฟฟ้าและพัดลมในห้องเรียนเปิดทิ้งไว้ ขณะที่ไม่มีใครใช้ห้องอยู่

๑๕. โต๊ะเรียน จำนวน ๓ ชุด อยู่หน้าระเบียง ชั้น ๒ อาคารอาทร  หากเป็นโต๊ะเหลือใช้ในห้องเรียน ควรเรียงเก็บไว้ในห้องเรียนก่อน เพื่อใช้ประโยชน์อื่น ๆ

๑๖. มีเศษขยะที่นักเรียนทิ้งอยู่บนหลังคาอาคารอเนกประสงค์ ติดกับอาคารอาทรพัฒนา ซึ่งแสดงถึงนักเรียนขาด ส. สุขนิสัย อย่างชัดเจน

๑๗. มีหนังสือเรียนจำนวนมากวางอยู่หน้าห้องเรียนมัธยม ชั้น ๔ ซึ่งควรมีการดูแลเก็บในที่ควรเก็บ เพื่อ ส.สะอาด และ สะดวก