วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จุดเน้นของ สพฐ. ปี 2555


ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก ที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. ได้กล่าวใน "ที่นี่มีคำตอบ จดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 4/2555" ทางเว็บไซต์ http://210.246.189.115/ewtadmin/ewt/demo_0850/ewt_news.php?nid=921 ไว้ว่า

การวางแผน เป็นกระบวนการคิดก่อนทำ ส่วนกลยุทธ์ เป็นวิธีที่ดีที่สุด(Best way) ที่จะทำให้พันธกิจของหน่วยงานบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นการวางแผนเชิงกลยุทธ์ จึงเป็นการหาวิธีการที่เราคิดว่าดีที่สุด ในสภาวะแวดล้อมภายในและภายนอก ที่ประสบอยู่ และเราก็มักจะใช้เทคนิค SWOT วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเพื่อการศึกษา จุดแข็ง(Strength) และจุดอ่อน(Weak) และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อศึกษาโอกาส(Opportunity) และข้อจำกัด อุปสรรค ภัยคุกคาม(Treat) หลายท่านมีปัญหาในการแบ่งสภาพแวดล้อมภายใน ภายนอก เกณฑ์ที่ใช้แบ่งก็คือ เรื่องใดที่เราสามารถควบคุม(Control) ได้ เรื่องนั้นเป็นสภาพแวดล้อมภายใน ถ้าเรื่องใดเหนือการควบคุมของเรา ก็เป็นสภาพแวดล้อมภายนอก กลยุทธ์ที่ดีต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป อ่านแล้วอมยิ้ม รู้นะว่าคิดอะไรอยู่ คงคิดว่าแหมหลักการดีเชียว แต่กลยุทธ์ สพฐ. เหมือนเดิมมา 3-4 ปีแล้ว 555...อ้าว...ก็สภาพแวดล้อมไม่ค่อยได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าใดนักไง ดังนั้นกลยุทธ์จึงเหมือนเดิม

ปี 2555 นี้ สพฐ.มีจุดเน้น 10 ประการด้วยกัน ดังนี้

1. ผลสัมฤทธิ์ในวิชาหลักเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 3 (Student achievement)
2. เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ (EQ : Emotion Quotient)
3. นักเรียน ป.3 ทุกคนอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น นักเรียนป.6 ทุกคนอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขคล่อง และมีทักษะ การคิดขั้นพื้นฐาน (Literacy & Numeracy)
4. นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความเป็นไทย จิตสาธารณะ อยู่อย่างพอเพียง (Sufficiency & Public Mind)
5. เพิ่มศักภาพนักเรียนด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปศาสตร์ (Excel to excellence)
6. สร้างทางเลือกในการเรียนรู้ที่เน้นให้ประชากรวัยเรียนทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ลดอัตราการออกกลางคัน ศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ (Alternative Access)
7. นักเรียน ครู และสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพสอดคล้องอัตลักษณ์ (Southern-Border Provinces)
8. นักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงและสังคมพหุวัฒนธรรม (ASEAN Community)
9. สถานศึกษาทุกแห่งมีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง และได้รับการรับรองจากการประเมินคุณภาพภายนอก ตลอดจนการพัฒนาสถานศึกษาในพื้นที่ชนบท โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล (Quality Schools)
10. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (Effective Service Areas)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น