วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ร่างระเบียบวาระการประชุมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ร่างระเบียบวาระการประชุมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ครั้งที่      ๑/๒๕๕๔ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
โรงเรียนวัดมโนรม สพป.ชบ.๓
ณ ห้องประชุมน้อมศิลป์ โรงเรียนวัดมโนรม
......................................................................................................
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่อง ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
๑.      แนะนำครูใหม่ จำนวน ๔ ท่าน
·         นางสาวปอวลี ผลประทุม  การศึกษา กศ.บ. ภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ ประวัติรับราชการ โรงเรียนบางแหวน จ.ชุมพร
·         นางสาวยุพา สมศรี  การศึกษา ค.บ. ภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
·         นางสาวสุพัตรา พรหมบุตร  การศึกษา ค.บ. วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
·         นางเพ็ญศรี ทองประกอบ การศึกษา บธ.บ. บริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
๒.    การประเมินกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนและกิจกรรม ๕ ส.
๓.     ความคืบหน้าในการซ่อมแซมและปรับปรุงภูมิทัศน์ ในการจัดจ้าง โครงการโรงเรียนดีประจำตำบล
๔.     การติดตั้งกล้องวงจรปิดในโรงเรียน ในโครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
๕.     การร่วมบริจาคเงินในโครงการกองทุนครูเพื่อแผ่นดิน ๑๔๐,๐๐๐ บาท
๖.      ผลการแข่งขันฟุตบอลมิชลินคัพ
๗.     งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคกลางและตะวันออก ครั้งที่ ๖๐
๘.     การร่วมงานแข่งขันทางวิชาการ ที่มหาวิทยาลัยบูรพา วันที่ ๑๗-๑๙ มกราคม ๒๕๕๓
๙.      การอบรมครูศิลปศึกษาของมูลนิธิการศึกษาอย่างยั่งยืน วันที่ ๒๑ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๔              
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่อง รับรองการประชุมครั้งที่แล้ว และติดตามงานด้านอื่น ๆ
๑.      การจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ของโรงเรียนปีการศึกษา ๒๕๕๓ แจ้งยอดรายรับ-รายจ่าย สรุปยอดเงินบริจาค ๖๗,๖๓๗ บาท  รายจ่าย ๓๐,๖๙๕ บาท คงเหลือ  ๓๖,๖๘๑ บาท
๒.     การปฏิบัติราชการของข้าราชการครู บุคลากร ว่าด้วย การลงเวลา การมาสาย การลา การไปราชการ การใช้เวลาราชการบางส่วน เพื่อทำธุระส่วนตัว การปฏิบัติงานในหน้าที่ครูเวรประจำวัน การอยู่เวรยามรักษาสถานที่ราชการ
๓.     การติดตามการรับทุน การเบิกจ่ายทุนการศึกษา ของนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๓
๔.     การรายงานทางการเงินของการจัดร้านค้าอาหารกลางวันโรงเรียน
๕.     การรายงานทางการเงินของสหกรณ์โรงเรียน
๖. การเบิกจ่ายเงินให้ผู้ปกครองนักเรียน ในโครงการเรียนฟรีอย่างมีคุณภาพ ครั้งที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๓ (วงเงินที่จ่าย จำนวนนักเรียนที่รับเงิน ระดับอนุบาล  หัวละ ๑๐๐ บาท  ระดับประถมศึกษา หัวละ ๑๙๕ บาท และมัธยมศึกษาตอนต้น หัวละ ๒๑๐ บาท)
๗.  การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐานแก่นักเรียนยากจนตามข้อมูล นักเรียนยากจนในข้อมูลสารสนเทศ (SMIS)    จำนวนนักเรียนยากจนทั้งหมด ประถม ๑๐๒ คน  มัธยม ๑๒๙ คน ได้รับจัดสรรให้ ประถม ๖๙  คน ๆละ ๓๒๐ บาท เป็นเงิน  ๒๒,๐๘๐ บาท มัธยม ๑๐๔  คนๆละ ๑,๒๗๕ บาท เป็นเงิน ๑๓๒,๖๐๐  บาทรวมเงินที่ได้รับจัดสรร ๑๕๔,๖๘๐  บาท
                        การจัดสรรของโรงเรียน ให้นำเงินทั้งหมด จัดสรรเฉลี่ยให้นักเรียนยากจน ตามข้อมูลของโรงเรียนทั้งหมด โดยจ่ายเป็นเงินสด ตามระเบียบ  ให้มีคณะกรรมการเบิกจ่ายเงิน  และจัดสรรดังนี้   ระดับประถมศึกษา ได้รับคนละ ๒๑๖.๔๗ บาท  ระดับมัธยมศึกษา ได้รับคนละ  ๑,๐๒๗.๙๐ บาท
                สถานศึกษาสามารถเลือกวิธีดำเนินการ จ่ายหรือจัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนยากจนได้ตามความเหมาะสม ดังนี้
                ๑. ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน  จัดซื้อแจกจ่ายให้แก่นักเรียน หรือให้ยืมใช้
                ๒.  ค่าเสื้อผ้าและวัสดุเครื่องแต่งกายนักเรียน        จัดซื้อหรือจัดจ้างผลิตแจกจ่ายให้แก่นักเรียน                ๓.  ค่าอาหารกลางวัน  จัดซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหาร หรือจ้างเหมาทำอาหาร หรือจ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียนโดยตรง
                ๕.  ค่าพาหนะในการเดินทาง  จ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียนโดยตรง หรือจ้างเหมารถรับส่งนักเรียน                    กรณี   การดำเนินการจัดซื้อ   -  จัดจ้าง     จัดหา  -    ต้องดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ว่าด้วยการพัสดุ    พ.ศ.2535    และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                กรณี   จ่ายเป็นเงินสดให้แก่นักเรียนโดยตรง ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย  3  คน ร่วมกันจ่ายเงิน โดยใช้ใบสำคัญรับเงินเป็นหลักฐาน
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องเสนอที่ประชุมทราบ
๑.      การใช้ Blog ผู้อำนวยการโรงเรียน โดยสามารถเข้าดูได้  http://srimanorommenu.blogspot.com/  หรือเข้า โดยผ่าน เมนู ที่หน้าเว็บไซด์ โรงเรียนวัดมโนรม  http://school.obec.go.th/srimanorom และสามารถติดต่อทาง อีเมล์   srimanorom@gmail.com
๒.    การสอบ Pre-ONET นักเรียน ป. ๖ ของกลุ่มโรงเรียนศรีราชา ๑
๓.     การสอบ ONET ,NT และ LAS
·       สอบ O-NET ป.๖  วันที่ ๑ ก.พ.๒๕๕๔ สอบทั้ง ๘ กลุ่มสาระ (ใช้แบบทดสอบฉบับย่อ) กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนป.๖ ทั้งร.ร.ภาครัฐ และร.ร.เอกชน ทุกคน
o    สอบ O-NET ม.๓  วันที่ ๒ ก.พ.๒๕๕๔ สอบทั้ง ๘ กลุ่มสาระ (ใช้แบบทดสอบฉบับย่อ) นักเรียนม.๓ ทั้ง ร.ร. ภาครัฐ และร.ร. เอกชน ทุกคน
o    สอบ NT  ป.๓  วันที่ ๒๓-๒๔ ก.พ.๒๕๕๔ สาระที่สอบ (ไทย/คณิต/วิทย์) เขียนตอบ ไทย/คณิต และอ่านออกเสียง กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนป.๓ ร.ร. ภาครัฐ ทุกคน
o    สอบ NT  ป.๖  วันที่ ๒-๓ มีนาคม ๒๕๕๔ สาระที่สอบ เขียนตอบ ไทย/คณิต และอ่านคล่อง กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนป.๖ ร.ร. ภาครัฐ ทุกคน
o    LAS(LT)  วันที่ ๙  มีนาคม ๒๕๕๔  ชั้น ป.๒(สอบ ๒ กลุ่มสาระ ภาษาไทยและคณิตศาสตร์  ป.๕ และ ม.๒ (สอบ ๓ กลุ่มสาระ ไทย,คณิต,วิทย์) กลุ่มเป้าหมาย นักเรียน ป.๒ ป.๕ และ ม.๒ ร.ร. ภาครัฐทุกคน
        o    การสอบระดับชาติทั้ง ๕ รายการนี้ ๒ รายการแรก เป็นเรื่องของ สทศ. ส่วนรายการที่ ๓-๕ เป็นเรื่องของ สพฐ. ในการบริหารศูนย์แจกจ่ายแบบทดสอบ ในส่วนของอ.ศรีราชา ใช้โรงเรียนวัดมโนรม  และกำหนดให้มีการประชุมกรรมการคุมสอบ วันที่ ๒๕  มกราคม ๒๕๕๔  เวลา ๐๙.๐๐ น.

๔.     การย้ายของข้าราชการครูสายงานบริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน
·       ตำแหน่ง ผู้บริหารโรงเรียน ร.ร.อนุบาลบ้านบางพระ(ว่าง) ร.ร. วัดจุกกะเฌอ   ร.ร.บ้านวังค้อ โรงเรียนวัดรังสีสุทธาวาส โรงเรียนบ้านห้วยกุ่ม โรงเรียนบ้านบ่อวิน  โรงเรียนบ้านหุบบอน โรงเรียนวัดเขาไม้แก้ว โรงเรียนบ้านมาบประชัน โรงเรียนบ้านห้วยไข่เน่า(ว่าง) โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์  โรงเรียนเกาะสีชัง
·       ตำแหน่งครูผู้สอน  โรงเรียนบ้านเขาไม้แก้ว อัตราว่าง ไม่ระบุวิชาเอก
๕.     การเข้าค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี ป.๖ ร่วมกับโรงเรียนในกลุ่มศรีราชา ๑ ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณ ค่ายวชิราวุธ (ค่ายย่อยชาตกาล  ๒) มีจำนวนนักเรียน ป.๖ ของโรงเรียนเข้าร่วม ๑๒๕ คน ผู้บังคับบัญชา ๖๗ คน ผู้บริหารโรงเรียน ๑๐ คน
๖.      แผนการจัดชั้นเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๔
·       อนุบาล ๓ ขวบ จำนวน ๓ ห้อง ห้องละ ๒๕ คน รวม ๗๕ คน
·       อนุบาลศึกษาปีที่ ๑  และ ๒  ชั้นเรียนละ ๓ ห้อง ๆ ละ ๓๕ คน
·       ประถมศึกษาปีที่ ๑   ชั้นเรียนละ ๓ ห้อง ๆละ ๔๐ คน
·       มัธยมศึกษาปีที่ ๑ -๓ ชั้นเรียนละ ๓ ห้อง ๆ ละ  ๔๐ คน
·       ในกรณีมีความจำเป็นเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา ในการรับนักเรียนเกินกว่าแผนที่กำหนด จะอยู่ในดุลยพินิจของผู้อำนวยการโรงเรียน
๗.     การรับสมัครนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๔
·       ระดับอนุบาล อนุบาล ๓ ขวบ และ อนุบาลศึกษาปีที่ ๑
·       อนุบาล ๓ ขวบ  วันที่ ๑๔-๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔  รับจำนวน ๘๐ คน
·       อนุบาลศึกษาปีที่ ๑ วันที่ ๑๔-๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔  รับจำนวน ๓ ห้องเรียน ห้องเรียนละ ๓๕ คน
·       ระดับประถมศึกษา ประถมศึกษาปีที่ ๑ วันที่ ๕-๒๐  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔  จำนวน ๓ ห้องเรียน ๑๒๐ คน  แจ้งผลการรับในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
·       ระดับมัธยมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ วันที่ ๑๒-๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔   จำนวน ๓ ห้องเรียน ห้องเรียนละ ๔๐
·       เอกสารประกอบการรับสมัคร ๒ ชุด  ประกอบด้วย สำเนาสูติบัตร สำเนาทะเบียนบ้านของนักเรียน บิดา และมารดา บัตรประจำตัวประชาชน บิดา มารดา รูปถ่ายนักเรียนขนาด ๒ นิ้ว ๒ รูป เอกสารการเปลี่ยนชื่อนามสกุล (ถ้ามี)
·       กำหนดการคัดเลือกและประกาศผลการรับนักเรียนทั้ง ๓ ระดับ

๘.     การอบรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมข้าราชการครู  ณ วัดปัญญานันทาราม คลอง ๖ จังหวัดปทุมธานี  วันที่ ๑๔-๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔  สพป.ชบ.๓ ให้โควตาครูผู้สอนที่ไม่ผ่านการอบรมเพิ่ม
๙.   การอบรมเชิงปฏิบัติการการตัดต่อวีดิโอ ด้วยโปรแกรม Ulead Studio v.๑๑ ของ สพป.ชบ.๓  วันที่ ๒๖-๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมใหญ่ สพป.ชบ.๓  ค่าลงทะเบียน ๕๐๐ บาท แจ้งรายชื่อผู้สนใจ ภายในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
๑๐.  การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร การวิจัย พัฒนา นวัตกรรม เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สู่การเลื่อนวิทยฐานะ  ณ โรงเรียนบ้านสวน(จั่นอนุสรณ์) วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔  ค่าลงทะเบียน ๒๐๐ บาท สำรองที่นั่งได้ที่ ๐๒-๙๘๗-๑๑๓๐ หรือ คุณศิริพร จบศรี ๐๘๖-๓๘๙-๔๗๑๘  ภายในวันที่ ๒๕ ก.พ. ๒๕๕๔
๑๑. การอนุญาตให้ใช้สถานที่เปิดศูนย์เทียบโอนความรู้ด้านวิชาชีพ ของสารพัดช่างชลบุรี กรมอาชีวศึกษา
๑๒.  การให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อทำวิจัยเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษา
๑๓. การเปิดศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น กิจกรรมในส่วนของโครงการ TO BE No.1
๑๔.                       ......................................................................
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
๑.      รูปแบบการจัดโครงสร้างการบริหารโรงเรียนปีการศึกษา ๒๕๕๔
โครงสร้างการบริหารสถานศึกษา การแบ่งกลุ่มงาน การจัดชั้นเรียน การจัดครูประจำชั้น การจัดครูตามโครงสร้างการบริหารงาน
๒.     พิจารณาวงเงินงบประมาณ เพื่อจัดสัดส่วนการบริหารจัดการ สำหรับปีการศึกษา ๒๕๕๔
·       เงินอุดหนุนรายหัว  อนุบาล ๓๔๐,๐๐๐ บาท(๒๐๐ คน)
·       เงินอุดหนุนรายหัวประถมศึกษา ๑,๑๔๐,๐๐๐ บาท(๖๐๐ คน)
·       เงินอุดหนุนรายหัว มัธยมศึกษาตนต้น ,๔๐๐,๐๐๐ บาท (๔๐๐ คน)
·       เงินพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ระดับอุบาล หัวละ ๒๑๕ บาท/ภาคเรียน  เป็นเงิน ๔๓๐,๐๐๐ บาท/ภาคเรียน  
·       เงินพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ระดับประถมศึกษา หัวละ ๒๔๐ บาท/ภาคเรียน  เป็นเงิน ๑๔๔,๐๐๐ บาท/ภาคเรียน  
·       เงินพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษา หัวละ ๔๔๐ บาท/ภาคเรียน  เป็นเงิน ๑๗๖,๐๐๐ บาท /ภาคเรียน  
๓.     การพิจารณารูปแบบการจัดกิจกรรม โครงการที่เกี่ยวกับการเงิน ที่เป็นรายได้สถานศึกษา สวัสดิการนักเรียน และครู ได้แก่ อาหารกลางวัน สหกรณ์ร้านค้าโรงเรียน  การจัดตั้งร้านสวัสดิการครูนักเรียนในโรงเรียน แนวการดำเนินการ  การพิจารณารูปแบบการจัดกิจกรรมอาหารกลางวัน และสหกรณ์ ให้มีคณะกรรมการ ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นประธาน กรรมการจาก  หัวหน้าช่วงชั้น ๔ ช่วงชั้น  ตัวแทนครู ช่วงชั้นละ ๑ คน  ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษา ๒ คน ตัวแทนสภานักเรียน ๓ คน  โดยมีประธานกรรมการสถานศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นที่ปรึกษา  และแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบบัญชีของร้านค้าอาหารกลางวันของโรงเรียน และ สหกรณ์โรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย ให้นายอนุชิต สงแพง เป็นประธานกรรมการ หัวหน้าช่วงชั้นทั้ง ๔ ช่วงชั้นเป็นกรรมการ  และให้ประธานเสนอแต่งตั้งเลขา ๑ คน  ให้เสนอผลการดำเนินงานให้ ผู้อำนวยการทราบภายใน ๒๐ วัน


๔.     การวัดประเมินผลปลายปี ปีการศึกษา ๒๕๕๓
·       กำหนดการสอบ ระดับอนุบาล  ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา
·       กำหนดการส่งงานธุรการเกี่ยวกับการวัดประเมินผล
·       กำหนดการประกาศผลการวัดประเมินผลประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓
๕.     กำหนดปฏิทินเปิดปิดภาคเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๔
·        (กำหนดสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา ๒๕๕๓ วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔)
·        กำหนดการเปิดภาคเรียนปีการศึกษา ๒๕๕๔ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔
๖.      การกำหนดปฏิทินปฏิบัติงาน สำหรับครู เพื่อจัดทำรายงานการจัดการศึกษาปีการศึกษา ๒๕๕๓ และการวางแผนงาน โครงการพัฒนาการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๔
๗.     การจัดงานวันวิชาการโรงเรียน
·       การจัดงานวันวิชาการการโรงเรียน  วันที่ ๑๖  มีนาคม ๒๕๕๓  รูปแบบการจัดกำหนดเป็น กลุ่มสาระ แต่ละกลุ่มสาระแยกเป็นระดับประถม มัธยม และดับก่อนประถมศึกษา แยกเป็น บูทต่างหาก การจัดแสดงความสำเร็จตามโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล

๘.     การพัฒนาโรงเรียน ในโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล ตามแผน เรื่อง การพัฒนาโรงเรียน ตามยุทธศาสตร์ ๔๔๔-๗๗๗ (ตุลาคม ๕๓ กันยายน ๒๕๕๔)  จะมุ่งเน้นเรื่องโรงเรียนดีประจำตำบล ด้านคุณภาพ ความเสมอภาค และความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน โดยใช้ยุทธศาสตร์ ๗๗๗ ซึ่งจะประกาศในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ดังนี้ - ๗ แรก ในการดำเนินการแรก คือ การพัฒนาโรงเรียนดีประจำตำบลใน
ระยะที่ ๑ ได้แก่ ๔  เดือนแรก(ต.ค.๕๓-ม.ค.๕๔)  มีเป้าหมายในการดำเนินการ ๗ประการ ได้แก่
๑.มีแผนงานในการพัฒนาที่ชัดเจน  ๒.มีเป้าหมายในการพัฒนาที่ชัดเจน
๓.โรงเรียนมีความสะอาด                 ๔.มีบริเวณโดยรอบร่มรื่น  ๕.มีบรรยากาศอบอุ่น
 ๖.มีความปลอดภัย  ๗.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ
       ระยะที่ ๒  ได้แก่ ๔ เดือน(ก.พ.-พ.ค.๕๔)  กำหนด  ๗ เป้าหมาย ที่ ได้แก่
๑.มีห้องสมุด ๓ ดี  ๒.มีห้องปฏิบัติการ  ๓.มีศูนย์การเรียนรู้อาชีพ
๔.มีศูนย์กีฬาชุมชน     ๕.มีห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะ
๖.มีครูที่ใช้แหล่งเรียนรู้และใช้ไอซีที  ๗.มีการบริหารที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง  
       ระยะที่ ๓ ได้แก่ ๔ เดือนสุดท้าย  (มิ.ย. –ก.ย.๕๔) มีเป้าหมาย ๗ ประการสุดท้าย  ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่
 ๑. มี ร.ร.ที่มีชื่อเสียงดี มีความพร้อมที่จะเป็นโรงเรียนดีใกล้บ้าน
๒.มีนักเรียนที่ใฝ่รู้  ๓.มีนักเรียนใฝ่เรียน  ๔.มีนักเรียนใฝ่ดี
๕.มีความเป็นไทย  ๖.มีสุขภาพดี และ  ๗.รักการอ่าน
การดำเนินการระดับโรงเรียน
การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานรับผิดชอบยุทธการ ๔๔๔- ๗๗๗ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ได้แก่ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนานาโรงเรียนดีประจำตำบลสู่เป้าหมาย ประกอบด้วย  คณะกรรมการที่ปรึกษา ประกอบด้วยคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับเชิญ ,  คณะกรรมการฝ่ายกำหนดแผนและนโยบาย , คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาอาคารสถานที่และภูมิทัศน์ , คณะกรรมการฝ่าย ๕ ส. , คณะกรรมการฝ่ายเสริมสร้างความอบอุ่นและปลอดภัย ม๖ คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาวิชาการ ได้แก่ระดับอนุบาล การพัฒนาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทุกกลุ่มสาระ ระดับ ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา การพัฒนาและการใช้ห้องปฏิบัติการ ได้แก่  ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ๓ ห้อง ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการกลุ่มสาระทุกกลุ่ม ศูนย์ฝึกอาชีพ คณะกรรมการฟื้นฟูดนตรีไทย , คณะกรรมการฝ่ายส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
๙.    การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณ ในโครงการเรียนฟรีเรียนดี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ ดังนี้ งบประมาณกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อนักเรียน ๑ คน ดังนี้
๑.     ก่อนประถมศึกษา ๒๑๕ บาท/หัว/ภาคเรียน
๒.     ประถมศึกษา ๒๔๐ บาท/หัว/ภาคเรียน
๓.     มัธยมศึกษาตอนต้น ๔๔๐ บาท/หัว/ภาคเรียน
 กิจกรรมตามกรอบนโยบายที่โรงเรียนสามารถจัดทำได้  ประกอบไปด้วย  . กิจกรรมวิชาการ
 . กิจกรรมคุณธรรม/ลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด ๓. ทัศนศึกษา ๔. การบริการสารสนเทศ/ICT ทั้งนี้ในการพิจารณากำหนดกิจกรรมทั้ง ๔ กิจกรรม ต้องให้ภาคี ๔ ฝ่าย (ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน และผู้แทนกรรมการนักเรียน) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมในการพิจารณา โดยที่ผลการพิจารณาต้องไม่เป็นการรอนสิทธิ์ ของเด็กยากจนและด้อยโอกาสที่พึงจะได้รับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
                       . กิจกรรมวิชาการ เป็นกิจกรรมที่สถานศึกษาจัดเพิ่มเติมจากการเรียนปกติในชั้นเรียน
เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ ส่งเสริมเด็กเก่งให้มีความเป็นเลิศและแก้ไข
ข้อบกพร่องของนักเรียนเรียนอ่อนให้มีศักยภาพสูงขึ้น เช่น ค่ายวิทย์ คณิตคิดสนุก ค่ายทักษะชีวิต
ค่ายภาษาพาเพลิน (แก้ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้) เป็นต้น โดยกำหนดให้ดำเนินการกิจกรรม
ดังกล่าว ปีละ ๑ ครั้ง
                       . กิจกรรมคุณธรรม / ลูกเสือ / เนตรนารี / ยุวกาชาด เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้
นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยมีสาระสำคัญ
ดังต่อไปนี้ กิจกรรมคุณธรรม เช่น ค่ายเด็กดีของชุมชน ค่ายรักษ์โลก ค่ายรักษ์สัตว์ ค่ายยุวชน
คนดี กิจกรรมอาสาพัฒนา เป็นต้น
                       ลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด เป็นกิจกรรมภาคปฏิบัติในการเรียนลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด
โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกทักษะการจัดการ การเผชิญสถานการณ์ การใช้
ชีวิตร่วมกันเป็นหมู่คณะ เช่น การเดินทางไกล การอยู่ค่ายพักแรม การผจญภัย (ไต่เขา ปีนต้นไม้
ฯลฯ) โดยกำหนดให้ดำเนินการกิจกรรมดังกล่าว ปีละ ๑ ครั้ง
                       . ทัศนศึกษา เป็นกิจกรรมศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์
ตรงให้กับนักเรียนที่เพิ่มเติมจากการเรียนในห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และประสบการณ์อย่าง
กว้างขวาง โดยกำหนดให้ดำเนินการกิจกรรมดังกล่าว ปีละ ๑ ครั้ง
                       . การบริการสารสนเทศ/ ICT เป็นกิจกรรมการให้บริการ ICT / คอมพิวเตอร์ แก่
นักเรียนเพิ่มเติมจากการเรียนคอมพิวเตอร์พื้นฐานตามหลักสูตรปกติ เช่น การให้บริการสืบค้น
ความรู้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต การให้บริการคอมพิวเตอร์ในการจัดทำสื่อ รายงานการนำเสนอข้อมูล
การออกแบบสร้างสรรค์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยกำหนดให้ดำเนินการกิจกรรมดังกล่าว ๔๐
ชั่วโมง/ปี/คน
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ
๑.       กิจกรรมปิดกล่องชอล์ก การพัฒนาทีมงาน
๒.     งานมงคลสมรส นางสาวทับทิม พรหมบุตร ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๔

4 ความคิดเห็น:

  1. คณะครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-39 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 16:18

    รับทราบระเบียบวาระการประชุม

    ตอบลบ
  2. รับทราบ
    หัวหน้าสายชั้นป.4-ป.6

    ตอบลบ
  3. ช่วงชั้นที่ 3 รับทราบ

    ตอบลบ
  4. หัวหน้าช่วงชั้นอนุบาล รับทราบ

    ตอบลบ