วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การลาที่ไม่สมควรลา

ท่านเคยเป็นอย่างนี้บ้างไหม?

...ลาป่วยเป็นนิจ ลากิจเป็นประจำ
การงานชอบเลี่ยง ส่งเสียงชวนคุย
ทำชุ่ยอยู่เสมอ พอเผลอชอบหลับ
มักกลับบ้านก่อนเวลา มาสายตลอดปี
ธุระมีตลอดวัน อนุสาส์นไม่ฟัง
นั่งไม่ติดที่ งานมีทำไม่สำเร็จ
บำเหน็จจะเอา หน้าเง้าเมื่อไม่ได้.....
ผมทำงานราชการมาหลายปีครับ  ไม่ค่อยได้หยุดราชการ เพราะลาป่วย ลากิจ มากนัก ที่จำเป็นจริง ๆ ปีหนึ่งๆ ไม่น่าเกิน 3 วัน และก็อดชื่นชมสำหรับครูเราหลายท่านที่ ไม่มีวันลาเลยในรอบปี หรือหลายปี ซึ่งแบบนี้ขอยอบรับนับถือจริง ๆ
เหตุที่ยกประเด็นนี้มาพูดคุยกับครูเนื่องจากว่า มีการลาในบางลักษณะที่ส่อเจตนา ให้มองว่าเป็นการย่อหย่อนต่อการปฏิบัติหน้าที่  คื่อการลาที่เป็นลักษณะดังนี้
  • ตัวอย่างที่ 1 ครู ก. ขอลากิจ ระหว่างวันหยุดที่มีการเชื่อต่อยาว หลายวัน เช่น วันที่ 5 ธ.ค. เป็นวันอาทิตย์ วันที่ 6 ธ.ค. เป็นวันจันทร์  วันที่ 7 -8 ธ.ค. ปฏิบัติงานตามปกติ วันที่ 9 - 19 ธ.ค. หยุดเรียนกรณีพิเศษ  ครู ก. จึงขออนุญาต ลากิจ ในวันที่ 7 -8 ธ.ค.  2 วัน  ทำให้ ครู ก. ได้มีวันหยุดยาว  ตั้งแต่ 4 -19 ธ.ค. คิดตามประสา ผู้ลา คือ คุ้มจริง ๆ กับการลาครั้งนี้
  • ตัวอย่างที่ 2 ครู ข. ทราบว่า วันที่ 31 ธ.ค. - 3 ม.ค. จะหยุดติดต่อกัน 4 วัน ครู ขจึงขอขอลากิจ ตั้งแต่  29 -30 ธ.ค. ก่อนหน้าวัหยุดยาว ทำให้ได้หยุด ปีใหม่ติดต่อกัน 6 วัน  คิดตามประสา ผู้ลา คือ คุ้มจริง ๆ กับการลาครั้งนี้
อีกลักษณะหนึ่งของการ ลาป่วยและลากิจ  มักมีค่านิยมที่แปลกอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งมักได้ยินอยูประจำ นั่นคือ "จะลาทั้งทีลาทำไมแค่วันเดียว ขาดทุน"  ตัวอย่างเช่น
  • ครู ค. จะขออนุญาตลาป่วย ด้วยมีอาการไข้หวัด หรือ ไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลในวันพุธ แต่ว่า มีความเชื่ออย่างที่ว่า จึงถือโอกาสลาป่วยต่อเนื่อง ในวันพฤหัส - ศุกร์  และติดต่อ เสาร์ อาทิตย์ ด้วยซะเลย 
ลักษณะนี้ละครับ ในความคิดของผมคือ  มันก็ไม่ผิดอะไร  เป็นสิทธิ์ที่คิดว่าทำได้  เมื่อมีเหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้ ทางราชการจึงมีกฎหมายให้ผู้บังคับบัญชา ขอดู ใบรับรองแพทย์ หรือเอกสารอื่น ๆ หรือทำหนังสือชี้แจงเป็นพิเศษ  เพื่อประกอบการพิจารณา สำหรับผม คำว่าลา ไม่มีคำว่ากำไร  มีแต่คำว่า ขาดทุน ลามากขาดทุนมาก ลาน้อยขาดทุนน้อย   ที่ว่าขาดทุนนี้หมายถึงขาดทุนในความรู้สึกดี ๆ ที่ ผู้บังคับบัญชา มีต่อ ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน
วันนี้จึงอย่างคุยเรื่องนี้กับทุกคน  สำหรับการลา  ผมเคยพูดกับเพื่อนครูเสมอ สำหรับการทำงาน และการลาประเภทต่าง ๆ ของครู   เราต้องสะสมต้นทุนในการทำงานให้มากที่สุด คือการลาให้น้อยที่สุด แม้ว่าเราจะมีสิทธิ์ในการลาประเภทต่าง ๆ ไม่น้อยในแต่ละปี  ผมเคยเห็นครูมาหลายรายที่ประมาทกับการลา คือ ใช้สิทธิ์การลาอย่างฟุ้มเฟือย ไม่เคยนึกถึงงานของตนเองที่รับผิดชอบ เรียกว่า ลาป่วยเป็นนิจ ลากิจเป็นประจำ  อีกทั้งมาโรงเรียนสาย  จัดว่าไม่สะสมต้นทุน ของการทำงานของตนไว้  วันหนึ่ง ถึงคราวเคราะห์กรรมซ้ำกระหน่ำ  วันลาเต็มพิกัด  ปรากฎว่า ลูกป่วย สามีเจ็บ บิดามาดา ต้องดูแล ใกล้ชิด จำเป็นต้องลาเพื่อดูแลครอบครัว  สิทธิ์การลาก็หมดแล้ว ผลเป็นอย่างไรละครับ ปีนั้น ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ผู้บังคับบัญชาเพ่งเล็งเป็นผู้ย่อหย่อนต่อการปฏิบัติงาน  ผมจึงเอาเรื่องนี้มาคุยเพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจตรงกัน  ถ้าเป็นครูแล้ว ไม่เคารพศรัทธาอาชีพของตน  ทำงานแบบซื้อเวลา ลาออกเถอะครับ คนอยากเป็นครูมีเยอะครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ2 มกราคม 2554 เวลา 16:30

    ครูบางคนไม่ลาเลยทั้งปี แต่ขอออกช่วงตอนบ่ายหลายๆครั้ง ในหนึ่งปี โดยผอ.ไม่ทราบ และฝากห้องให้เพื่อนครูดูแล อย่างนี้ถือว่าเอาเปรียบหรือเปล่า ครูประเภทนี้มีมาก

    ตอบลบ